วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

วิธีการใช้ adobe captivate 3

ทำความรู จัก Adobe Captivate 3.0
โปรแกรม Adobe Captivate 3.0 เป็นผลิตภัณฑ์น้องใหม่จากค่าย Adobe ที่ถูกพัฒนาขึ้น มาเพื่อ
สนับสนุนการสร้าง Movie ในรูปแบบสื่อเรียนรู หรือสื่อการนำเสนอแบบมัลติมีเดีย เช่น การนำเสนอผลงาน
การจับหน้าจอภาพเพื่อนำไปสร้างสื่อเรียนรู การสร้างสื่อจากข้อมูลต่างๆ การสร้างแบบทดสอบ รวมไปถึงการตัดต่อวิดีโอเพื่อใช้สำหรับงานนำเสนอหรือผลิตสื่อเรียนรู โดยโปรแกรม Adobe Captivate 3.0 เป็นโปรแกรมที่ใช้สร้างชิ้นงานได้ง่ายและเร็ว
จุดเด่นของโปรแกรม Adobe Captivate3.0
- สร้างสื่อเรียนรู้ หรือสื่อนำเสนอมัลติมีเดียได้อย่างง่ายดาย
- ตัดต่อวิดีโอได้ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว
- สร้างสื่อเรียนรู โดยการจับหน้าจอภาพ (Screen capture movie) อัดเสียงบรรยายประกอบ
- เหมาะสำหรับการนำไปใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน
- สร้างแบบทดสอบได้ง่าย และมีแบบทดสอบให้เลือกทำได้หลายรูปแบบ
- นำเข้าไฟล์จากแหล่งต่างๆ ได้หลากหลาย ไฟล์จาก Adobe flash ไฟล์รูปภาพ (Image) เช่น JPG,
BMP, GIF ไฟล์เสียง (Sound) เช่น MP3, WAVเสียงบรรยายผ่านไมโครโฟน ไฟล์วิดีโอ (Video) เช่น AVIสไลด์จากโปรแกรม Microsoft Power Point (.PPT)
- ส่งออกไฟล์ได้หลายรูปแบบFlash movie File (.swf) ลักษณะเช่นเดียวกับโปรแกรม Adobe Flash
HTML File (.html) สำหรับการนำไปใช้กับเว็บไซต์ EXE File (.exe) สำหรับการนำไปใช้แบบ Stand alone คือการแสดงผล โดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรม Adobe captivate และ zip file สำหรับบทเรียนในแบบ scorm เพื่อนำเข้าไปใช้ในบทเรียนออนไลน์
ความต้องการของระบบ
- Microsoft Windows หรือ Windows XP
- 600 MHz Intel Pentium III Processer หรือ เทียบเท่า
- 128 MB of Ram ถ้าจะให้ดีต้องใช้ที่ 256 MB
- พื้นที่ว่างของฉาร์ดดิสด์อย่างน้อย 200 MB
- ความละเอียดของจอ SVGA

การเรียกใช้งาน Adobe Captivate 3.0
คลิกที่ Start, Programs, Adobe, Adobe Captivate 3
ส่วนประกอบหน้าจอแรกของโปรแกรม Adobe Captivate
Open a recent project แสดงไฟล์ล่าสุดที่เคยบันทึกไว ในโปรแกรม เปิดไฟล์ที่เคยบันทึกไว
Record new project (สำหรับการเริ่มต้นใช้งานแนะนำให้ใช้งานตรงส่วนนี้) สำหรับสร้าง project
บันทึก movie (จับหน้าจอภาพ)
Getting started tutorials แนะนำขั้นตอนการสร้าง Project ด้วยโปรแกรม Adobe Captivate เริ่ม
ตั้งแต่การบันทึก การแก ไขตกแต่ง การส่งออก การนำเข้าไฟล์เสียงการสร้างส่วน ตอบโต้ การใส่ลูกเล่นเพื่อ
เพิ่มความน่าสนใจ ตามลำดับ

เริ่มต้นใช้งาน Adobe Captivate 3.0
เป็นที่ทราบกันแล้วว่าจุดเด นของโปรแกรม Adobe Captivate 3.0 มีความสามารถในการ สร้าง
Movie ได้หลากหลายรูปแบบ เริ่มแรกให้คลิกที่ Record or create a new project จะ ปรากฏหน้าต่าง Newproject options

Software Simulation หมายถึงว่าจะเป็นการจำลองการจับหน้าจอภาพตามที่เรากระทำ โปรแกรมจะ
ทำการเก็บภาพหน้าจอตามที่เรากระทำกับ Mouse หรือกระทำอื่นใดกับจอภาพ ในส่วนที่โปรแกรมให้เรา
เลือกจากรายการที่กำหนด มีหลักการทำงาน ดังนี้
- Application สำหรับการ Capture movie ทั้งหน้าจอภาพ ของโปรแกรมที่เรา ต้องการจะทำการ
บันทึกการทำงานของหน้าจอ
- Custom size สำหรับการ Capture movie แบบกำหนดขนาดหน้าจอภาพได้
- Full Screen สำหรับการ Capture movie ทั้งหน้าจอภาพ
การสร้างผลงานสื่อการเรียนการสอนด้วยโปรแกรม Captivate รวมถึงการสร้าง Movies ควรเริ่มต้น
โดยวางแผนการสร้างภาพเคลื่อนไหว (Movie) โดยออกแบบ Storyboards, Scripts หรือใน รูปแบบอื่น
ตั้งค่าเริ่มต้นการใช้งานในการจับจอภาพเคลื่อนไหว (Movie preferences)
บันทึกภาพเคลื่อนไหว ที่กระทำกับจอภาพ การคลิกกับวัตถุใด ๆ บนจอภาพ โปรแกรมจะ บันทึกไว
1 สไลด์ ในการคลิกแต่ละครั้ง หรือจะนำเข้าไฟล์ภาพเคลื่อนไหวก็ได้ เพิ่มข้อความ รูปภาพ เสียง ข้อความ
เคลื่อนไหว และรายละเอียดส่วนอื่น ๆ แก ไขปรับปรุง Timeline ทดลองดูภาพเคลื่อนไหวที่สร้างขึ้น

กำหนดเงื่อนไขในการสร้าง E-Learning และสร้างสไลด์คำถามใน (เติมคำในช่องว่าง, แบบเหมือน,
จับคู , ตัวเลือก, ตอบสั้นๆ ,ถูกผิด)

เลือกจัดเก็บรูปแบบในการเผยแพร่ (Publish)
จัดเก็บและเผยแพร่ ในลักษณะไฟล์ฟอร์แมต EXE
จัดเก็บและเผยแพร่ ในลักษณะไฟล์ฟอร์แมต Flash และ เรียกใช้โดย HTML
จัดเก็บและเผยแพร่ ในลักษณะไฟล์ฟอร์แมต zip เพื่อใช่เป็น SCORM
จัดเก็บและเผยแพร่ ในลักษณะไฟล์ฟอร์แมต Word หรือ Handout (คู มือการใช้ งาน)
จัดเก็บและเผยแพร่ ไปบนเว็บไซต์ ด้วย FTP ส่ง Movie โดยใช้ E-mail
การสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยโปรแกรม Adobe Captivate 3.0 Step by Step
Step 1 คลิกที่ Record or create a new project
Step 2 จะปรากฏหน้าต่าง New movie options ให้คลิกที่ Record or create a new project

เมนูการใช้งาน New Project Options
Software Simulation ใช้สำหรับจับภาพการเคลื่อนไหวของหน้าจอภาพ แสดงออกมา ในรูปแบบ
ของสถานการณ จำลองApplication สำหรับการจับภาพของหน้าต่างที่เปิดใช้งานอยู่ (Active window) Custom size สำหรับการจับภาพหน้าจอที่กำหนดขนาดของขอบเขตได้ Full Screen สำหรับการจับภาพทั้งจอภาพ

Demonstration หมายถึง โปรแกรมจะจับหน้าจอตามการกระทำที่เกิดขึ้น มีการ เคลื่อนไหวของเมาส์ มี
กรอบโต้ตอบกับผู้เรียน Assessment Simulation โปรแกรมจะบังคับให้ผู้เรียนกระทำตามที่ได้บันทึกหน้าจอไว เช่นถ้ามีการ
บันทึกการคลิกเมาส์ไว เมื่อเล่นมาจนถึงช่วงที่ต้องคลิกเมาส์โปรแกรมจะหยุด เล่นจนกว่าจะมีการคลิกเมาส์
และหากคลิกผิดที่จะมีกล่องข้อความขึ้นมาบอกว่าต้องคลิก ที่ใด เมื่อผู้เรียนคลิกเมาส์ถูกต้อง โปรแกรมจะเล่นต่อไปจนกว่าจะมีเหตุการณ์ใหม่เกิดขึ้น
Training Simulation หมายถึงการจับหน้าจอแบบการฝึกอบรม โปรแกรมจะทำการบันทึก หน้าจอ
ทั้งหมด เมื่อมีการเล่นโปรแกรมจะแสดงกล่องข้อความโต้ตอบให้ผู้เรียนทำตาม การบันทึกหน้าจอแบบนี้
เหมาะสำหรับสอนการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทั้งนี้สามารถ บันทึกเสียงบรรยายไปพร้อมกันได้ด้วย
Custom โปรแกรมจะให้เราเข้าไปกำหนดค่าในการบันทึกได้ด้วยตนเองและสามารถแก้ไข ได้อีกใน
ภายหลัง
การ Capture movie หน้าจอภาพเป็นการใช้งานที่น่าสนใจมากทีเดียว เพราะสามารถ นำไปใช้เป็นสื่อ
เรียนรู แบบมัลติมีเดีย ที่ดึงดูดความสนใจได้เป็นอย่างดี ซึ่งขั้นตอนการ Capture movie หน้าจอภาพทำได้ดังนี้
1. คลิก Start, Programs, Macromedia, Adobe Captivate
เลือกโปรแกรมที่จะสร้างสื่อ

2. คลิก Record or create a new movie จะปรากฏหน้าต่าง New movie options
3. คลิก Full screen เพื่อ Capture movie ทั้งหน้าจอภาพ
4. คลิก OK
Monitor แสดงสถานะจอภาพที่กำลังใช้งาน
Record narration เป็นการบันทึกเสียงบรรยายพร้อมๆ กับการ Screen capture movie
Recording size บอกขนาดการ Capture movie หน้าจอภาพ
Options… เป็นการปรับแต่งเพิ่มเติม ปกติจะใช้ค่าที่โปรแกรมกำหนดมาให้
Record เมื่อกดปุ่มนี้จะเป็นการเริ่มบันทึกการ Capture movie หน้าจอภาพ
5. คลิกปุ ม Record เพื่อเริ่มบันทึก การ Capture movie หน้าจอภาพ
6. กดปุ ม บนแป้นพิมพ์เมื่อสิ้นสุดการ Capture

7. ปรากฏสไลด์ Movie (Movie Frame) ซึ่งจำนวนสไลด์จะขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งที่คลิก เมาส์
เช่น หากมีการคลิกเมาส์ 10 ครั้งก็จะได้จำนวนสไลด์เท่ากับ10 สไลด์ หรือ 10 เฟรม สไลด์
Movie (Movie Frame)
8. คลิกปุ ม Edit เพื่อแก ไขสไลด์
9. การปรับแต่ง Timeline
ปกติแต่ละสไลด์จะมีค่า Timeline อยู่ที่ 4 วินาที ในรูปข้างล่างจะเป็น Slide 4
(4.0s)สามารถปรับแต่งเพิ่มหรือลดค่า Slide Timeline ได้

วัตถุที่วางบนสไลด์จะวางเรียงกันเป็นเลเยอร์(Layer) ถ้าต้องการปรับแต่ง Timeline วัตถุ
ใดก็ให้คลิกที่วัตถุนั้นแล้วลากซ้ายขวาคลิกแล้วลากเพื่อปรับแต่ง Timeline โปรแกรมจะสร้าง
ข้อความให้อัตโนมัติ สามารถดับเบิลคลิกเพื่อแก้ไขข้อความได้

10. การแก้ไขข้อความในสไลด์
ปกติโปรแกรมจะสร้างข้อความในสไลด์ให้อัตโนมัติ เราสามารถแก ไขข้อความได้ โดย
ดับเบิลคลิกแล้วแก้ไขข้อความ เมื่อต้องการแก้ไขข้อความภายใน Text Caption ให้ดับเบิลคลิกก็จะสามารถแก้ไขข้อความได้

11. การลบสไลด์
การลบสไลด์ทำได้โดยคลิกสไลด์ที่ต้องการลบ แล้วกดปุ ม บนแป้นพิมพ์
12. การเพิ่มสไลด์ จุดประสงค์เพื่อทำสไลด์ไตเติล
การเพิ่มสไลด์ทำได้โดยคลิกที่เมนู Insert, Blank Slide หลังจากเพิ่มสไลด์เราก็ สร้าง Text
animation เป็นสไลด์ไตเติลก่อนที่จะเข้าเนื้อหา
เมื่อได้ Slide แล้วให้นำขึ้นไปเป็นสไลด์แรก แล้วจึงแทรก Text animation

13. การใส่สีพื้นหลังให้กับสไลด์
การใส่สีพื้นหลังให้กับสไลด์ทำได้โดยคลิกที่เมนู Slid, Properties…เลือกสีพื้น หลัง สีพื้น
หลังที่เลือก Text animation

14. การดูผลงานสไลด์ Movie
การดูสไลด์ Movie ทำได้โดยคลิกที่ปุ ม Preview เช่นเลือก Preview In Web Browser
สไลด์จะโชว์เป็นภาพเคลื่อนไหวตามลำดับสไลด์ เมื่อดูผลงานเสร็จแล้วให้คลิกปุ ม Close แล้ว
บันทึกไฟล์เก็บไว เพื่อแก ไขใน ภายหลัง
15 การบันทึกไฟล์โปรแกรม Adobe Captivate
การบันทึกไฟล์โปรแกรม Adobe Captivate คือการเก็บ ไฟล์ที่เราสร้างไว เพื่อประโยชน
สำหรับการแก ไขในภายหลัง โดยโปรแกรม Adobe Captivate มีนามสกุลไฟล์ *.CP โดยวิธีการ
บันทึกให้ ไปที่เมนู File, Save หรือคลิกปุ ม Save บน Main Tools Bar


การสร้างงานด้วย Blank Project
การสร้าง Blank Project เมื่อตกลงจะได้หน้าใหม่ให้ตั้งค่าต่างๆดังนี้
User defined กำหนดขนาดตามความต้องการ เช่น ตัวอย่างเลือกขนาด 800 x 600
Preset size กำหนดขนาดตามความละเอียด (Resolution) ของจอภาพ

การสร้าง Movie ด้วยวิธีนี้จะอาศัยเครื่องมือที่อยู่ด้านล่างช่วยสร้างเครื่องมือที่สำคัญที่นิยมใช้กันดังนี้
การสร้าง Text Animation
คลิกที่ Object Tools ที่ชื่อ Text Animation ปรากฏหน้าต่าง New text Animation เลือก Text
Animation
Effect เลือกรูปแบบการแสดงผลข้อความ
Text พิมพ์ข้อความที่ต้องการ
Change font… เปลี่ยนรูปแบบ ขนาด หรือสีของตัวอักษร

ค่าของ Options
ค่าของ Audio
การสร้าง Caption หรือสร้างหนังสือทั่วไป
เมื่อสร้างสไลด์ใหม่แล้ว คลิกที่ Object Tools ที่ชื่อ Caption ปรากฏหน้าต่าง New text Caption
Timing กำหนดเวลาการแสดงผลของ Movie

Loop คลิกถูกที่ Loop กำหนดให้เล่นวนซ้ำ
Transition กำหนด Effect ในการเปลี่ยนฉากแต่ละสไลด์ (Frame)
Record new… กำหนดการบันทึกเสียงจากไมโครโฟน
Import… นำเข้าไฟล์เสียง เช่น MP3, WAV
Settings การกำหนดค่าของเสียงที่บันทึก เลือกไมโครโฟน
Caption type กำหนดลักษณะรูปแบบของ Caption
Font…รูปแบบตัวหนังสือ ส่วนค่า option และ Audio จะมีลักษณะเหมือนกับ การสร้าง text Animation

การสร้าง Rollover Captionเป็นการสร้างหนังสือในรูปแบบที่เมื่อแสดงผลโดยการลากเมาส์ผ่านจุดที่กำหนดจึงจะปรากฏหนังสือออกมาให้เห็น เริ่มสร้างโดยคลิกที่ Object Tools ที่ชื่อ Rollover Caption ปรากฏหน้าต่าง RolloverCaption
Caption type กำหนดลักษณะรูปแบบของCaption
Font…รูปแบบตัวหนังสือ ส่วนค่า option และ Audio จะมีลักษณะ
เหมือนกับ การสร้าง text Animation

การสร้างปุ่มควบคุม
โดยคลิกที่ Object Tools ที่ชื่อ Button ปรากฏหน้าต่าง

การแทรก Text Entry
Text Entry ใช้แทรกเพื่อทำกิจกรรมในระหว่างเรียนหรือเป็นการทดสอบความสามรถของนักเรียน
ซึ่งเป็นการเติมคำในช่องว่าง มีขั้นตอนดังนี้
1. สร้างคำถามด้วย Caption
2. เลือกไอคอน Text Entry บนจอภาพจะเกิดกรอบโต้ตอบใหม่ขึ้นมา
3. เลือกตำแหน่งแล้วปรับ Text Entry ให้เหมาะสม
4. เปลี่ยน Type success text here โดยดับเบิลคลิก แล้วเป็น ถูกต้อง
5. เปลี่ยน Type failure text hereโดยดับเบิลคลิก แล้วเป็น ผิดให้ตอบใหม่
6. แทรก Bottom ควบคุม
7. จัด Time Line ให้เหมาะสม
การแทรกรูปภาพ (image)
โดยคลิกที่ Object Tools ที่ชื่อ Image ปรากฏหน้าต่างใหม่ให้เลือกรูปภาพที่จะแทรก
เมื่อเลือกรูปภาพแล้วถ้าหากภาพมีขนาดใหญ่จะมีหน้าต่างให้ Crop รูปภาพ .ให้ได้ขนาดพอดีกับ
พื้นที่ที่กำหนด ถ้าเลือก Resize จะทำให้ขนาดของภาพปรับลดขนาดลงให้พอดีกับพื้นที่กำหนด
Image กำหนดขนาดของภาพหรือเปลี่ยนภาพใหม่ จาก Import

การแทรกรูปภาพในลักษณะ Rollover image
โดยคลิกที่ Object Tools ที่ชื่อ Rollover Image ปรากฏหน้าต่างใหม่ให้เลือกรูปภาพที่จะแทรก
เมื่อเลือกรูปภาพแล้วถ้าหากภาพมีขนาดใหญ่จะมีหน้าต่างให้ Crop รูปภาพ .ให้ได้ขนาดพอดีกับ
พื้นที่ที่กำหนด ถ้าเลือก Resize จะทำให้ขนาดของภาพปรับลดขนาดลงให้พอดีกับพื้นที่กำหนด

การทำ Click Box
Click Box เป็นการทำที่เกี่ยวกับภาพและคำถามที่เกี่ยวข้องกับภาพเพื่อเป็นการฝึกให้นักเรียน
ทดลองทำหลังจากที่เรียนผ่านไป โดยการคลิกที่ภาพตามคำถามที่กำหนดให้ มีขั้นตอนในการสร้างดังนี้
1. แทรกรูปภาพที่ต้องการทดสอบความรู้ของนักเรียน ด้วยไอคอน Image
2. แทรกคำถามด้วยไอคอน Caption
3. เลือกไอคอน Click Box บนจอภาพจะเกิดกรอบโต้ตอบ

4. ปรับตำแหน่งที่ต้องการให้คลิกเมาส์ที่ที่ตำแหน่งที่ถูกต้อง
5. เปลี่ยน Type success text here โดยดับเบิลคลิก แล้วเป็น ถูกต้อง
6. เปลี่ยน Type failure text hereโดยดับเบิลคลิก แล้วเป็น ผิดให้ตอบใหม่
7. แทรก Bottom ควบคุม
8. จัด Time Line ให้เหมาะสม
การแทรกแบบทดสอบ
คลิกเมนู insert, Slide จะปรากฏหน้าต่าง Question Slide รูปแบบการ Question Slide
รูปแบบการ Question Slide

ชนิดของแบบทดสอบที่โปรแกรมกำหนดให้มีหลายรูปแบบสามารถที่เลือกได้ตามความเหมาะสมใน
การสร้างบทเรียน เมื่อเลือกแบบทดสอบแล้วให้กดปุ่มสร้างแบบทดสอบ ก็จะได้หน้าต่างใหม่สำหรับสร้าง
แบบทดสอบดังนี้

การกำหนดรายละเอียดข้อสอบเพื่อนำออกไปใช้ประโยชน์ต่อไป
การส่งออก (Publish) ไฟล์ *.CP
1. เปิดไฟล์ *.CP ที่เคยสร้างไว แล้ว
2. คลิกเมนู File, Publish จะปรากฏหน้าต่าง Publish รูปแบบการ Publish
ตัวอย่างนี้เลือก Publish เป็น Flash (SWF)และ HTML หลังจากที่ Publish ก็จะได้ ไฟล์ 2 ไฟล์ คือ
.SWF กับ .HTML Flash (SWF) ส่งออกเป็น Flash movie File (.swf) สำหรับใช้งานบนเว็บไซต์ Adobe Connect Enterprise ส่งออก Online บนอินเทอร์เน็ต

Standalone ส่งออกเป็นไฟล์ *.exe สำหรับสื่อเรียนรู เปิดดูได้โดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรม E-Mail
ส่งออกเป็น E-Mail
Print ส่งออกเป็นใบปลิว (ส่งออกโปรแกรม Microsoft Word) FTP ส่งออกเป็น File Transfer Protocal
Output Options
Zip File ส่งออกเป็นไฟล์ *.ZIP ซึ่งสามารถนำเข้าบทเรียนออนไลน์ใน Moodle ในรูปแบบ Scrom
Full screen ส่งออกแบบเต็มจอภาพ เมื่อเลือกเพิ่ม
Export HTML ส่งออกเป็นไฟล์ *.HTML จะได้ทั้งไฟล์ที่เป็น .SWF กับ .HTML
Generate autorun for CD สร้างระบบ autorun สำหรับแผ่น CD
Flash Version เป็นการเลือกรุ นของโปรแกรมเล่นไฟล์ Flash
Project Information
โดยเลือก Preferences สำหรับตั้งค่าต่างก่อนที่จะนำออกไป จะปรากฏหน้าต่างใหม่ให้ตั้งค่า

Preferences แสดงข้อมูลเกี่ยวกับไฟล์ที่ส่งออก เช่น ขนาดของการแสดงผล (Resolution), จำนวน
สไลด์ทั้งหมด (Slides), การใส่เสียงประกอบสไลด์ (Slide with audio) คุณภาพของเสียง (Audio Quality),e-learning Output, แถบควบคุม Movie (Playback Control) Preferences… การกำหนดรูปแบบการส่งออกเพิ่มเติม

Standalone ส่งออกเป็นไฟล์ *.exe
ในการสร้างสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบที่เป็นลักษณะคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เพื่อที่จะให้
นักเรียนนักศึกษาสามารถที่จะนำไปศึกษาเพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง มีขั้นตอนการสร้างดังนี้
1. เลือกเครื่องมือ Publish แล้วเลือก Standalone เมื่อทำเสร็จสามารถที่ใช้งานได้เลยโดยเลือกเปิด
เล่นจากไฟล์ที่สร้างขึ้นมา

2. ทำเหมือนกันทุกๆ หน่วย หรือที่มีอยู่จนหมดทุกงาน เพื่อที่จะสร้างเมนูสำหรับใช้งานให้ได้งาน
ทั้งหมด
3. เลือกเมนู File แล้วทำภาพ
4. จะได้หน้าต่างใหม่ดังภาพแล้วทำตามได้เลย

5. เลือกรูปแบบเมนู
6. สร้างเมนูที่หน้าแรกของงานที่นำเสนอ
7. จะได้หน้าต่างสำหรับตั้งชื่อแผ่นซีดี แล้วก็กด Finish
8. จะได้หน้าต่างสำหรับปรับแต่งเมนูให้เหมาะสม
9. เมื่อปรับแต่งเสร็จให้เลือกเครื่องมือ Export เพื่อนำไปใช้งานจริง
10. เมื่อเกิดหน้าต่างใหม่ขึ้นมาให้ตั้งชื่อและเลือก Folder ที่จะบันทึก แล้วกด Finish
11. จากนั้นให้ทดลองทดสอบว่างานที่ทำเสร็จสามารถใช้งานได้หรือไม่
12. เมื่อตรวจสอบแล้วก็ให้นำงานทั้งหมดใน Folder นั้น เขียนลงในแผ่นซีดีเพื่อนำไปใช้งานจริง


การบันทึกเพื่อนำไปใช้กับ Moodle
แต่ถ้าต้องการนำเข้าในโปรแกรม Moodle เพื่อสร้างบทเรียนออนไลน์ ในลักษณะที่เป็น Scorm
จะต้องเสร็จค่าให้เป็น Scorm ด้วยตามภาพ และเลือก Publish ให้ Zip files

เมื่อกำหนดค่าหมดแล้ว ก็กด Publish โปรแกรมจะทำการบันทึกไฟล์ตามรูปแบบที่กำหนด
เมื่อ Publish เสร็จสามารถที่ดูงานที่สร้างเสร็จสมบูรณ์ได้โดยกดปุ่ม View Output งานที่เสร็จนั้นก็
จะแสดงผลให้ดูได้เลย
การนำบทเรียนที่สำเร็จใช้ร่วมกับ โปรแกรม Moodle เพื่อเป็น E_learning
สามารถที่จะทำได้โดยเปิดบทเรียน E_learning ที่สร้างไว้ก่อนแล้วได้ตามขั้นตอนดังนี้
1. เปิด Internet Explorer หรือตัวไหนก็ได้ที่สามารถเข้าอินเตอร์เนตได้

2. เลือกรายวิชาที่จะสร้างบทเรียนแล้วเข้าสู่ระบบในฐานะผู้ที่สามารถแก้ไขงานได้
3. เข้ารายวิชาแล้วให้เริ่มแก้ไขงาน
4. เลือกเพิ่มแหล่งข้อมูล เลือกแบบลิงค์ไฟล์หรือเว็บไซด์

5. จะมีหน้าต่างใหม่ให้เลือก
6. เลือกหรืออัพโหลดไฟล์ เพื่อนำไฟล์ที่สร้างเสร็จแล้วเข้ามาใช้งาน
7. จะได้หน้าต่างใหม่ให้เลือกไฟล์เข้ามาได้
8. เมื่อเลือกอัพโหลดไฟล์นี้จะได้หน้าให้เลือกไฟล์
9. จะกลับมาที่หน้าให้บันทึกการเปลี่ยนแปลง
10. เมื่อบันทึกเสร็จก็สามารถที่จะแสดงผลงานผ่านหน้าเว็บไซด์ได้เลยโดยคลิกที่ชื่อของงาน
เมื่อเสร็จแล้วสามารถที่จะเพิ่มบทเรียนอื่นในทำนองเดียวกัน แต่ถ้าหากบทเรียนมีบททดสอบด้วย
ให้ใช้วิธีนำเข้าโดยการเพิ่มกิจกรรมแล้วเลือก Scrom :ขั้นตอนการนำเข้าคล้ายๆ กัน

4 ความคิดเห็น:

wai กล่าวว่า...

ถือว่าดี มีประโยชน์มาก ๆ เลยครับ เลยถือวิสาสะ Copy โดยยังไม่ได้รับอนุญาติเพื่อนำไปเผยแพร่ครับผม
kruwai.com

Unknown กล่าวว่า...

สงสัยเรื่องการทำ เป็นไฟล์ EXE นะครับ
พอดีต้องทำแล้ว มันมีหลายหน่วยมาก
ใส่วีดีโอไปเยอะมาก ในโปรเจคเดียว
พอ publish ออกมาเป็น EXE แล้เครื่องมันโหลดไ่ขึ้น
ควรทำยังไงครับ (ปล.แถมใส่แบบฝึกหัดได้แค่เรื่องเดียวอีกตั่งหาก) ขอบคุณครับ

Unknown กล่าวว่า...

ช่วนแนะนำหน่อยครับ รีบใช้จริงๆ

liveinaday@hotmail.com

ขอบคุณครับ

WDC กล่าวว่า...

มีขอสงสัยนิดนึงครับ คือว่ามันสามารถ print ออกมาเป็นเอกสาร ได้หรือป่าว แล้วมันprint ออกมายังไง แนะนำทีครับ