วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552
FTTH:(Fiber to the Home)
เทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ โทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต ฯลฯ นับว่ามีความสำคัญต่อสังคมไทยในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ตั้งแต่ระดับครัวเรือนไปจนถึงระดับประเทศ วันนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พสุ แก้วปลั่ง อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จะพาท่านไปรู้จักกับนวัตกรรมทางเทคโนโลยีการสื่อสารที่จะทำให้ท่านต้องตั้งตาคอยการมาถึงของมันเลยทีเดียว
“โดยส่วนตัวผมทำงานวิจัยเกี่ยวกับระบบ Fiberoptic คือระบบสื่อสารผ่านเส้นใยแสง สมัยเรียนปริญญาเอกก็จะเน้นไปที่ระบบทางไกล เช่น โยงใต้ทะเลเป็นหลายพันกิโลเมตร ว่าจะทำให้ความเร็วของการส่งข้อมูลเร็วขึ้นได้ยังไง หรือถ้ากำหนดความเร็วแล้วจะทำให้มันไปได้ไกลขึ้นได้อย่างไร แต่พอเข้ามาเป็นอาจารย์ที่คณะวิศวฯ จุฬาฯ ก็ได้ศึกษาและทำการวิจัยในหลายๆ ระดับ ตั้งแต่โครงข่ายระดับ Fiber-optic ใหญ่เชื่อมโยงระหว่างเมืองจนถึงระดับ Access ซึ่งหนึ่งในโครงข่าย Fiber-optic ระดับ Access ที่ให้ความเร็วสูงสุดเท่าที่มีในปัจจุบันนั่นก็คือ Fiber to the Home (FTTH)”
· เทคโนโลยีที่เรียกว่า Fiber to the Home นี้มีความสำคัญอย่างไร
“ปัจจุบันที่เราใช้โทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ หรือใช้อินเตอร์เน็ต ก็เป็นการใช้ผ่านระบบสื่อสาร แต่ระบบของแต่ละอันก็แยกจากกัน ซึ่งข้อมูลแต่ละระบบก็มีความแตกต่างกัน แต่ในอนาคตเราจะพยายามโยงทุกระบบให้มาอยู่ในลักษณะข้อมูลเหมือนกันหมด ไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ หรืออินเตอร์เน็ต จะมาอยู่ในรูปแบบข้อมูลของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทั้งหมด ตัวอย่างที่เราคุ้นเคยกัน เช่น Voice over IP IPTV และโทรศัพท์มือถือในยุคที่ 3 (Mobile IP) เป็นต้น”
“นอกจากบริการที่เราเห็นกันทั่วไปแล้ว ในอนาคตเราพยายามจะทำให้ระบบทุกอย่าง เครื่องมือทุกอย่าง อย่างเครื่องใช้ไฟฟ้าสามารถสื่อสารข้อมูลได้ด้วยตัวมันเอง เช่น บ้านเราอาจจะติดเซนเซอร์ตามที่ต่างๆ เช่น ที่ขอบประตู เก้าอี้ ตู้เย็น ฯลฯ ก็จะสามารถสื่อสารข้อมูลได้ เช่นเราอยู่นอกบ้านเราสามารถดูผ่านมือถือได้ว่าหน้าต่างบานนั้นล๊อคหรือยัง สามารถตรวจสอบได้หมด นั่นคือจากบ้านเราสามารถสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแล้วส่งข้อมูลมาเข้ามือถือเรา หรือสั่งอัดวีดีโอผ่านมือถือได้ หรือเช็คของในตู้เย็นได้เช่น นมหรือไข่หมดหรือยังเป็นต้น”
“เมื่อทุกอย่างสามารถสื่อสารข้อมูลได้ โครงข่ายหรือระบบสื่อสารที่ใช้ต้องรับข้อมูลปริมาณมหาศาล อย่างปัจจุบันแค่อินเตอร์เน็ตอย่างเดียวเรายังรู้สึกว่าระบบช้า ถ้าเกิดทุกอย่างสื่อสารหมดแม้แต่ประตูหน้าต่างก็สามารถส่งข้อมูลได้ก็จะยิ่งมีปริมาณข้อมูลมหาศาล โครงข่ายที่ใช้ต้องรองรับข้อมูลปริมาณมากเหล่านั้นได้ ซึ่งระบบที่จะสามารถรองรับได้ก็คงต้องเป็นระบบเส้นใยแสงหรือ Fiber-optic ซึ่งปัจจุบันก็นำมาใช้กันแล้วอย่างโครงข่ายใต้ทะเล รวมทั้งโครงข่ายในเมืองก็เป็น Fiber-optic ดังนั้นในการที่จะให้ข้อมูลสื่อสารออกจากบ้านได้ทุกคน และมีความเร็วสูงตามที่ต้องการ ต้องมีตัวกลางที่สามารถส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็ว ดังนั้นจึงพยายามโยงเส้นใยแสงให้มาใกล้บ้านมากที่สุด ซึ่งเป็นที่มาของ Fiber to the Home นั่นเอง”
การศึกษาขั้นบุกเบิกของระบบ FTTH ในบริเวณกรุงเทพมหานคร (CAT)
· Fiber to the Home คืออะไรและมีประสิทธิภาพมากเพียงไร
“Fiber to the Home คือระบบเส้นใยแสงที่จะทำการส่งผ่านข้อมูลจาก Central Office หรือชุมสายของผู้ให้บริการไปยังบ้านเรือนของผู้ใช้บริการ โดยศักยภาพตามมาตรฐานของ Fiber to the Home ใหม่ล่าสุดที่ใช้กันอยู่ปัจจุบันนี้ คือสามารถส่งข้อมูลไปถึงบ้านของเรา และส่งจากบ้านของเราไปยังชุมสายได้ความเร็วมากที่สุดถึงระดับ 2.5 Giga-bit per second (Gbps) หรือประมาณ 2,500,000,000 บิต / วินาที ถ้าจะให้เห็นภาพคือ ระบบบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ตที่เราใช้อยู่ตามบ้านทุกวันนี้คือ ADSL อย่าง High speed Internet ที่บอกว่าความเร็ว 1 Mbps นั่นประมาณ 1,000,000 บิต / วินาที ก็จะเห็นว่า Fiber to the Home เร็วกว่าถึง 2,500 เท่า แล้วอย่างความเร็วของ High speed Internet ผ่านระบบ ADSL นั้น ในส่วนความเร็วของการ Upload นั้นจะต่ำกว่าความเร็วของการ Download แต่ถ้าเป็น Fiber to the Home ทั้ง upload download ความเร็วมากที่สุดจะเท่ากันคือ 2.5 Gbps นอกจากนั้น ADSL นี่สำหรับบ้านที่อยู่ไกลจากชุมสายมากจะได้ความเร็วน้อยลงไปอีก เนื่องจากใช้ข้อมูลที่อยู่ที่ความถี่สูงไม่สามารถวิ่งผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดาได้ระยะทางไกล โดยทั่วไปความเร็วของ ADSL จะพอรับประกันได้ในระยะไม่น่าจะเกิน 5 กิโลเมตร ฉะนั้นถ้าบ้านใครไกลจากชุมสายออกไปเกิน 5 กิโลเมตรก็จะใช้ความเร็วได้ไม่เต็มที่ แต่ Fiber to the Home จะรองรับระยะการส่งข้อมูลได้ไกลถึง 20 กิโลเมตรโดยความเร็วไม่ตกลง”
· ในปัจจุบันเริ่มมีผู้หันมาใช้ระบบนี้กันมากขึ้น ซึ่งผู้ใช้รายใหญ่คือประเทศญี่ปุ่น
“ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่นำระบบนี้มาใช้มากที่สุด คือเริ่มนำ Fiber to the Home มาทำเป็นระบบเชิงพาณิชย์ประมาณปี 2001 หรือ 2002 ปัจจุบันมีเกือบ 10 ล้านครัวเรือนที่ใช้เทคโนโลยีนี้อยู่ และราคาถ้าเทียบกับ ADSL ก็น่าจะแพงกว่าประมาณ 30% แต่ถ้าเทียบกับความเร็วที่ได้จะต่างกันเยอะมาก ส่วนอเมริกานั้นเนื่องจากนิยมใช้เคเบิลทีวีกันแพร่หลาย ดังนั้นการสื่อสารข้อมูลอินเตอร์เน็ตจะผ่านระบบเคเบิลทีวี ไม่ต้องลงทุนเพิ่ม ส่วนเกาหลี จีน ก็เริ่มนำมาใช้กันมากขึ้น”
· สำหรับประเทศไทยก็ได้มีการริเริ่มระบบนี้กันบ้างแล้ว แต่ไม่เป็นการแพร่หลายมากนัก
“สำหรับประเทศไทยปัจจุบันนี้ยังไม่บูมมาก จุดแรกของประเทศไทย ดำเนินการโดยบริษัท Fiber to the Home ซึ่งเช่าสายเส้นใยแสงจากจากไฟฟ้า ให้บริการแถบสุขุมวิท สาธร ในความเร็ว 100 Mbps ซึ่งเป็นความเร็วในมาตรฐานเก่าของ Fiber to the Home และยังไม่ได้ใช้กันแพร่หลายมากนัก แต่มีแนวโน้มจะแพร่หลายมากยิ่งขึ้นเนื่องจากทางการไฟฟ้าทั้ง 3 ภาคส่วนเองเริ่มสนใจที่จะนำมาใช้โดยกำลังอยู่ในระหว่างการวางแผนว่าการไฟฟ้าจะทำเองหรือจะให้บริษัทเอกชนรายไหนมาเช่าไปดำเนินการ ซึ่งผมก็เคยรับงานบางส่วนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมาศึกษาอยู่”
“อย่างบริษัท CAT นี่ผมก็ไปทำการศึกษาออกแบบลงพื้นที่นำร่องให้เมื่อปีที่แล้วว่าถ้าจะทำในกรุงเทพฯ ต้องลงทุนประมาณเท่าไร ตกถึงผู้ใช้บริการแล้วต้องจ่ายค่าใช้บริการเดือนละเท่าไร ซึ่งทางบริษัทก็สนใจพอสมควร เพราะอย่างไรก็ตามคาดว่าเทคโนโลยีนี้ต้องมาแทน ADSL อย่างแน่นอน ส่วน ToT นี่ทดลองวางจริงเลย โดยทำที่ภูเก็ตคาดว่าปีนี้จะลองให้บริการจริงเป็นพื้นที่นำร่อง และหน่วยวิจัยของ ToT ก็มีการซื้อชุดทดลองระบบ Fiber to the home นี้มาและวางแผนทำการทดลองว่าจะสามารถพัฒนาอะไรต่อได้บ้าง”
· ระบบ Fiber to the Home จะเป็นที่แพร่หลายในประเทศไทยได้อย่างไร
“ถ้าจะทำให้ประเทศเรานิยมใช้ Fiber to the Home อย่างประเทศญี่ปุ่นนี่ ต้องผลักดันจากผู้ใช้งาน อย่างประเทศญี่ปุ่นจะมีโฆษณาว่าสามารถสั่ง VDO on Demand ได้ โดยต้องใช้ระบบ FTTH คนก็จะนิยมกันมาก เพราะที่ญี่ปุ่นจะไม่มีของละเมิดลิขสิทธิ์ การไปเช่าวิดีโอมาดูจึงราคาแพงพอสมควร ดังนั้นจึงต้องดูว่าประเทศเราควรจะผลักดันบริการส่วนไหนจึงจะทำให้คนในประเทศมีความสนใจระบบนี้มากขึ้น พอคนสนใจบริการนั้นๆ เค้าก็จะเรียนรู้ว่าต้องใช้ระบบ FTTH จึงจะใช้บริการนั้นได้ ระบบนี้ก็จะมีคนสนใจและได้รับความนิยมขึ้นมา เช่นคนไทยอาจจะสนใจ HDTV (High Definition TV) คือทีวีที่มีความชัดมากๆ ซึ่งถ้าจะส่งผ่านสายเคเบิลธรรมดานี่เป็นเรื่องยาก ส่งผ่าน ADSL นี่แทบเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นถ้าเราอาจโปรโมต HDTV เมื่อคนสนใจก็จะมีการใช้ Fiber to the Home แพร่หลายขึ้น และอีกส่วนหนึ่งที่คิดว่าคนน่าจะสนใจกันมากคือ อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ซึ่งถ้าผ่านระบบ Fiber to the Home จะมีความเร็วสูงมาก การ Download ต่างๆ ก็จะทำได้ง่ายขึ้น”
· ประโยชน์ของ Fiber to the Home นอกจากจะเกิดกับวิถีชีวิตประจำวันของประชาชนทั่วไปแล้ว ยังยังสามารถช่วยพัฒนาบริการทั้งหลายที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศได้อีกด้วย
“อย่างเช่น การแพทย์ทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ต (Telemedicine) คือ เราอยู่ส่วนหนึ่งของประเทศเราสามารถปรึกษาแพทย์ที่อยู่อีกฟากหนึ่งของประเทศได้ โดยการส่งรูป ส่งฟิล์มเอ๊กซ์เรย์ ทั้งหลายผ่านทางอินเตอร์เน็ต ไปปรึกษาแพทย์แบบ Real time ได้ หรือแม้กระทั่งการผ่าตัดทางไกลที่ว่าต้องมีการควบคุมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญซึ่งอยู่อีกที่หนึ่ง ซึ่งต้องใช้ข้อมูลสื่อสารแบบ Real timeในการดำเนินงานจำนวนมหาศาล หรือพวก E-education คือคนสอนอยู่อีกที่หนึ่งคนเรียนอยู่อีกที่หนึ่ง สอนโดยผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งต้องใช้การสื่อสารข้อมูลจำนวนมหาศาลเช่นกัน ซึ่งถ้าระบบนี้มีการแพร่หลายและเชื่อมโยงไปทั่วทุกที่ก็จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากร และพัฒนาประเทศได้”
“นอกจากนั้นยังช่วยในการพัฒนาอุตสาหกรรม คือเมื่อใช้ระบบ Fiber to the Home ก็มีความต้องใช้ Modem สำหรับ Fiber to the Home โดยเฉพาะเพื่อแปลงสัญญาณแสงเป็นสัญญาณไฟฟ้า รวมทั้งอุปกรณ์เสริมต่างๆ ซึ่งเมื่อมีการใช้แพร่หลายและเราต้องนำเข้าจากต่างประเทศก็จะต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงเนื่องจากมีราคาแพง ถ้าเราสามารถผลิตเองได้ในประเทศซึ่งปัจจุบันยังไม่มีผู้ผลิตในประเทศ ก็จะเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมได้”
· และอาจารย์ก็ได้ให้ความเห็นว่า คนไทยจะต้องได้รู้จักและหันมาใช้ระบบ Fiber to the Home ในเร็ววันนี้แน่นอน
“สำหรับระบบ Fiber to the Home นี้คิดว่าจะแพร่หลายในประเทศไทยอย่างรวดเร็ว โดยในกรุงเทพมหานครนี้คิดว่าคงจะแพร่หลายกันในระยะเวลาประมาณ 3 ปีนี้อย่างแน่นอน”
· นอกจากนั้นแล้วอาจารย์ยังได้ทำการวิจัยในส่วนอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกันอีกด้วย
“อย่างที่ได้กล่าวว่าจริงๆ ผมศึกษามาทางด้านการเชื่อมโยงระบบทางไกลเป็นพันๆ กิโลเมตร แต่เมื่อมาทำงานก็เน้นไปที่การโยงเครือข่ายจากบ้านไปยังชุมสายอย่าง Fiber to the Home รวมทั้งเน็ตเวิร์คซึ่งเป็นโครงข่ายในระดับเมือง นอกจากนั้นยังพัฒนาในส่วนที่เรียกว่า All optical signal processing หมายความว่าการประมวลผลสัญญาณในรูปแบบของแสงโดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้ามายุ่ง ปกติตัวสัญญาณข้อมูลแสงนั้นทำให้มันช้า มันหยุด หรือจับใส่ฮาร์ดดิสก์เหมือนข้อมูลในรูปแบบของทางไฟฟ้าไม่ได้ ดังนั้นสิ่งที่ผมทำคือทำการศึกษาว่าทำอย่างไรจะทำให้แสงมันช้า หรือจะหยุดเวลาของแสงได้อย่างไร หรือว่าทำอย่างไรจะแปลงความยาวคลื่นของแสงโดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้าเลย นี่คือสิ่งที่กลุ่มของผมทำการวิจัยอยู่ด้วย”
· นอกจากนั้นอาจารย์ยังสนใจศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยทางด้านการสื่อสารแบบไร้สาย ซึ่งก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน
“นอกจากทำในเรื่องพวกนี้แล้วผมยังฉีกแนวทำเรื่องอื่นอีก คือระบบ Fiber-optic นี่โดยปกติต้องใช้สายในการส่งสัญญาณ ในขณะที่ทำงานเกี่ยวกับระบบใช้สายสัญญาณนั้น ผมก็ศึกษาวิจัยอยู่กับระบบไร้สายด้วย”
“ในอนาคตที่พูดถึง Fiber to the Home แล้วเรายังมีอินเตอร์เน็ตผ่านระบบที่เรียกว่าระบบไร้สายหรือ Wi-max บางท่านคงรู้จักระบบ Wi-fi ที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน ซึ่ง Wi-fi มีรัศมีประมาณ 30-100 เมตร แต่ Wi-max มีรัศมีประมาณ 50 กิโลเมตร ด้วยความเร็วสูงสุดประมาณ 75 Mbps เพราะฉะนั้นถ้ารัศมีกว้างขนาดนี้เราสามารถเล่นอินเตอร์เนตในรถได้ หรือใช้งานขณะเดินไปเดินมาได้ หรือถ้ามหาวิทยาลัยติดตั้งตัวส่งสัญญาณตัวเดียวนี่สามารถใช้ได้ทั้งมหาวิทยาลัย ซึ่งกลุ่มของผมก็ทำวิจัยทางด้านนี้ด้วย ”
· และสิ่งที่อาจารย์อยากจะฝากไว้ก็คือ
“ในปัจจุบันเทคโนโลยีด้านต่างๆ มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วให้มีประสิทธิภาพการใช้งานต่างๆ สูงขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้งาน คือประชาชนทั่วไปได้รับความสะดวกสบายในการใช้งาน โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ก็รู้สึกภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งแน่นอนว่าจะทำให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงอยากให้ทุกคนคอยติดตามความก้าวหน้าต่างๆ เหล่านี้”
ISDN
ประสิทธิภาพของบริการ ISDN
รายการ
ISDN
SPC
1. สัญญาณที่ส่ง
ดิจิตอล
อนาล็อก
2. ความเร็ว
เท่ากับหรือมากกว่า 64 Kbps
น้อยกว่า 64 Kbps
3. การใช้งานอุปกรณ์ในคู่สาย
2 อุปกรณ์พร้อมกัน
1 อุปกรณ์
4. ชนิดของสัญญาณที่ใช้งาน
เสียง ข้อมูล และภาพ
เสียง ข้อมูล
จากตารางจะแสดงการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของบริการ ISDN กับระบบโทรศัพท์ธรรมดา(Store Program Control-SPC)ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ให้เห็นความแตกต่างได้ดังนี้คือ
1. สัญญาณที่ส่ง(ระหว่างผู้ใช้บริการจนถึงชุมสาย) ระบบ ISDN จะมีการส่งสัญญาณเป็นระบบดิจิตอลตั้งแต่อุปกรณ์สื่อสาต้นทางส่งต่อไปยังชุมสายต้นทางแล้วส่งสัญญาณดิจิตอลต่อเนื่องเรื่อยไปจนถึงชุมสายปลายทาง ก็จะส่งสัญญาณดิจิตอลนี้ไปให้ถึงอุปกรณ์สื่อสารปลายทาง เรียกว่าเป็นการสื่อสารในรูปแบบ End-to-End Digital ข้อดีของการส่งสัญญาณดิจิตอลในรูปแบบนี้ทำให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ข้อมูล และภาพ ส่งถึงปลายทาง มีความถูกต้อง ชัดเจน ครบถ้วน สมบูรณ์ ลดปัญหาเรื่องสัญญาณรบกวนในคู่สาย ได้ดีกว่าระบบโทรศัพท์ธรรมดาที่ใช้กันอยู่ ซึ่งสัญญาณที่ส่งออกจากอุปกรณ์ต้นทางเป็นสัญญาณอนาล็อกไปยังชุมสายต้นทาง ชุมสายจะแปลงสัญญาณเป็นดิจิตอลส่งต่อเรื่อยไปจนถึงชุมสายปลายทางจะแปลงสัญญาณดิจิตอลกลับเป็นสัญญาณอนาล็อกส่งไปยังอุปกรณ์ปลายทาง ซึ่งการส่งสัญญาณรูปแบบนี้ในระบบ SPC ปัญหาที่เกิดขึ้นจะเกิดจากสัญญาณรบกวนในขณะที่ส่งเป็นสัญญาณอนาล็อก ทำให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่ส่งไปถึงปลายทางมีความผิดเพี้ยนไปจากเดิม ทำให้เกิดปัญหา เช่น โทรศัพท์มีสัญญาณรบกวน มีเสียงซ่า โทรสารส่งไปถึงปลายทางสำเนาเอกสารที่รับที่เครื่องปลายทางมีปัญหา เช่น ภาพมัว ไม่ชัด ได้รับไม่ครบหน้า ส่วนข้อมูลที่ส่งไปถึงปลายทางเกิด Error นำไปใช้งานไม่ได้ เหล่านี้เป็นต้น
2. ความเร็วที่ใช้งานผ่านระบบ ISDN ได้ ปัจจุบันอุปกรณ์สื่อสารในระบบ ISDN สามารถรองรับการใช้งานที่ความเร็วมาตรฐานของระบบ ISDN อย่างต่ำที่ 64 Kbps(กิโลบิตต่อวินาที) จนถึงสามารถใช้ความเร็วที่สูงสุดระดับ 2.048 Mbps(เม็กกะบิตต่อวินาที, 1 Mbps=1000 Kbps) ได้ ขึ้นอยู่กับความสามารถของอุปกรณ์สื่อสารระบบ ISDN เป็นสำคัญ ในขณะที่โครงข่ายโทรศัพท์ SPC ที่ใช้กันอยู่ปัจจุบัน ความเร็วสูงสุดที่ใช้กันผ่านโทรสารระบบธรรมดาจะมีความเร็วเพียง 14.4 Kbps ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้งานได้เร็วขึ้นมาอีกก็คืออุปกรณ์ Modem ใช้งานได้สูงสุดเพียง 56 Kbps แต่ในการใช้งานจริงความเร็วไม่สามารถทำได้ตามความสามารถสูงสุดของ Modem ที่เป็นเช่นนี้เพราะการส่งข้อมูลผ่านโครงข่ายโทรศัพท์ในปัจจุบัน ซึ่งเหมาะสำหรับการส่งสัญญาณเฉพาะเสียงเท่านั้น ไม่เหมาะสำหรับการส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง ถึงแม้จะมีการพัฒนาการ Modulation สัญญาณข้อมูลให้ส่งในรูปแบบของสัญญาณเสียงได้ก็ตาม ประกอบกับสภาพคู่สายโทรศัพท์ที่ใช้งานอยู่มีสัญญาณรบกวนมากน้อย มีผลต่อความเร็วในการรับส่งข้อมูลผ่านโครงข่ายโทรศัพท์ SPC ทำให้ใช้งานสื่อสารข้อมูลได้ไม่เต็มที่
3. คู่สายระบบ ISDN สามารถรองรับการติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารเพื่อรอการใช้งานได้สูงสุดถึง 8 อุปกรณ์ และยังสามารถใช้งานอุปกรณ์สื่อสารในคู่สาย ISDN ได้พร้อมกันถึง 2 เครื่อง เช่น ในขณะที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ Link อินเตอร์เนตที่ความเร็ว 64 Kbps มีคนโทรศัพท์เข้ามาในคู่สาย ISDN สามารถรับสายโทรศัพท์ที่ติดตั้งในคู่สาย ISDN เดียวกันได้ทันที โดยอินเตอร์เนตที่เชื่อมต่ออยู่ไม่หลุดและใช้งานได้ตามปกติ หรือ อาจจะเป็นการโทรศัพท์จากคู่สาย ISDN ออกไปหาใครก็ได้ โดยเลขหมายปลายทางของอุปกรณ์ทั้ง 2 อย่างที่ใช้ติดต่อพร้อมกันอยู่นี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นเลขหมายเดียวกัน เพราะคู่สาย ISDN จะมีช่องสัญญาณสื่อสารถึง 2 ช่องสัญญาณ แต่ละช่องสัญญาณเป็นอิสระต่อกัน ในขณะที่การติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารในคู่สายโทรศัพท์ธรรมดา จะต่อพ่วงอุปกรณ์สื่อสารกี่เครื่องก็ตาม แต่จะใช้งานได้เพียง 1 อุปกรณ์เท่านั้น
4. คู่สาย ISDN สามารถรองรับการใช้งานได้ทั้งเสียง ข้อมูล และภาพ เนื่องจากระบบ ISDN สามารถพัฒนาความเร็วในการสื่อสารที่สูงขึ้น จึงสามารถที่จะใช้อุปกรณ์สื่อสารทางภาพมาใช้งานได้ อย่างเช่น ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการ ISDN นิยมใช้อุปกรณ์ Video Conference มาใช้งานผ่านคู่สาย ISDN เป็นจำนวนมากพอสมควร ในขณะที่คู่สายโทรศัพท์ธรรมดา ส่วนใหญ่จะใช้งานเพียงสัญญาณทางด้านเสียงและข้อมูลเท่านั้น เนื่องจากขีดจำกัดทางด้านความเร็วของระบบโทรศัพท์ธรรมดา จึงทำให้อุปกรณ์สื่อสารทางด้านภาพไม่ได้มีการพัฒนามาใช้งานกันอย่างแพร่หลายผ่านคู่สายโทรศัพท์ระบบธรรมดา
เครือข่าย X.25
X.25 เป็นโพรโทคอลชนิดนึงที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารในระบบ WAN โดยเป็นแบบ PACKET-SWITCHEDมันจะทำงานในส่วนของ OSI MODEl Layer ที่ 1 - 3
X.25 มีส่วนประกอบของการทำงานด้วยกันอยู่ 3 ส่วน ได้แก่
DTE - ได้แก่อุปกรณ์ ตัวสุดท้ายที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร เช่น TERMINAL,PC หรือ HOST ของเน็ตเวิร์ค
DCE - เป็นอุปกรณ์ตัวกลางที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ระหว่าง PSE กับ DTE (DTE ไม่มีความสามารถในการติดต่อ กับ PSE ได้โดยตรงจะต้องทำผ่านตัวกลาง DCE ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาญ CLOCK ก่อนถึงจะส่งข้อมูลไปหา DTE ได้)
PSE - เป็นสวิตท์ที่ทำหน้าที่เป็น แอร์เรีย เน็ตเวิร์ค ขนาดใหญ่ โดยจะทำการส่งข้อมูลไปยัง DTE ด้วยโปรโตตอล X.25
ในขณะเดียวกันเราจะ พบกับ PAD (Packet Assembler/Disassembler) ใน X.25 มันจะทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ระหว่าง DCE กับ DTE ให้สามารถทำงานได้เต็มรูปแบบ โดย เมื่อมีการส่งข้อมูลจาก PSE จะส่งมาที่ DCE หลังจากนั้น ข้อมูลจะถูกส่ง ให้กับ DTE แต่ในขณะที่ส่ง DCE จะทำการส่งผ่าน PAD ก่อน โดย PAD จะทำหน้าที่ เป็นบัฟเฟอร์ ในการกรอง ข้อมูล โดยการตัดส่วน ของ HEADER ของ X.25 ออก ก่อน
ข้อตกลงในการติดตั้งx.25 เมื่อ DTE 1ตัว ทำการร้องขอต่อส่วนการสื่อสารอื่น DTE จะทำการรับข้อตกลงหรือไม่รับก็ได้ ถ้ารับจะมีการทำงานในแบบ Full Duplex
การเลือกเส้นทางการส่งข้อมูล ของ x.25
มี 2 วิธี คือ
แบบ switched (SVCs) เป็นการเชื่อมต่อชั่วคราวใช้สำหรับถ่ายข้อมูลเป็นช่วงๆ ซึ่งวงจรที่ใช้ switched ได้แก่วงจร DTE ที่มี 2แหล่ง, maintain และTerminate
โดยอุปกรณ์แต่ละอย่างจำเป็นต้องใช้เพื่อการสื่อสารกัน
แบบ permanent (PVCs) เป็นการเชื่อมต่อแบบถาวรใช้สำหรับถ่ายข้อมูลที่การถ่ายโอนการบ่อยๆ ตัวPVCs ไม่ต้องการตัวสร้างและตัว Terminate.ดังนั้นทำให้ตัว
DTEทั้งหลายสามารถที่เริ่มทำการส่งข้อมูลเมื่อมีการร้องขอเพราะตัวสร้างทำงานตลอดเวลา
โครงร่างส่วนประกอบของโพรโทคอล X.25
ประกอบด้วย Packet-Layer protocol (PLP) ,Link access Procedure,Balanced (LAPB) และการติดต่อแบบอนุกรมอื่นๆเช่น (EIA/TIA-232,EIA/TIA-449,EIA 530 และG.703)
แพ็คเกตและ เลเยอร์โพรโทคอล
ด้วย Packet-Layer protocol (PLP) มีหน้าที่ในการควบคุมการแลกเปลี่ยน packet ระหว่างอุปกรณ์ dte มันจะทำงานในระดับที่สูงกว่า Logical link control 2 (LLC2) อันได้แก่ ระบบ Lan และ ISDN โดยทำงานในระดับ Link Access Procedure on the D channel (LAPD) การทำงานของ PLP มีการทำงาน 5 ลักษณ์ คือ call setup,data transfer,idle,call clearing,และ restarting
call setup จะใช้กันระหว่าง SVCs กับอุปกรณ์ DTE จะทำงานในวงจรพื้นฐานโดยจะเลือกวงจรหลักหนึ่งวงจรที่ใช้ในการเรียก call setup mode ส่วนตัวอื่นจะเป็น data transfer mode. ในวิธีนี้จะใช้กับ SVCs เท่านั้นไม่รวม PVCs.
Data transfer mode ใช้สำหรับถ่ายข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ DTE 2 ตัวผ่านวงจรในอุดมคติ.ซึ่งในโหมดนี้ PLP ได้แบ่งเครื่องมือและตัวควบคุมออกเป็น bit padding , error และ flow
control ในวิธีนี้จะทำงานในวงจรพื้นฐานและใช้ได้ทั้ง PVCs และSVCs
Idle mode ถูกใช่เมื่อข้อมูลที่ถูกเรียกไม่มีในเส้นทาง มันจะทำการใช้เฉพาะเส้นทางพื้นฐาน ใช้ได้เฉพาะ svc
Restarting mode ใช้ในถ่ายโอนข้อมูลที่สัมพันธ์กันระหว่าง อุปกรณ์ DTE และ อุปกรณ์ติดต่อ DCE จะทำงานในเส้นทางของ svc กับ pvc
LAPB
LAPB เป็นข้อมูลเชื่อมต่อโพรโทคอลให้บริหารการติดต่อและรูปแบบแพ็คเก็ตระหว่าง อุปกรณ์ DTEและ DCE. LAPB เป็น bit-oriented โพรโทคอล ซึ่งเฟรมนั้นจะถูกต้องตามต้องการและไม่มีข้อมูลผิดพลาดแน่นอน. เฟรม LAPB ทั้ง 3ชนิดประกอบด้วย ข้อมูล,ส่วนตรวจสอบ,ส่วนไม่นับ. เฟรมข้อมูล (I-FRAME) จะพาข้อมูลส่วนบนของเลเยอร์และข้อมูลควบคุมบ่างส่วน. ฟังก์ชัน I-FRAME ประกอบด้วย ซีเควียนติง,ชาร์ตควบคุม,และส่วนหาและตรวจสอบข้อผิดพลาด. I-FRAME จะส่งพาหะและรับเลขลำดับ.เฟรมตรวจสอบ (S-FRAME) จะพาข้อมูลควบคุม.ฟังก์ชัน S-FRAME ประกอบด้วยส่งความต้องการและส่วนส่งพักตำแหน่ง,รายงานสถานะและรับรู้จาก I-FRAME . S-FRAME จะพาเฉพาะส่วนรับลำดับหมายเลข.ส่วนไม่นับ (U-FRAME) จะพาข้อมูลส่วนควบคุม. ฟังก์ชัน U-FRAME ประกอบด้วยส่วนติดตั้งเชื่อมโยงและตัดการติดต่อ คล้ายๆตัวรายงานข้อมูล ERROR . U-FRAME จะพาเฉพาะหมายเลขที่ไม่เป็นลำดับ
X.21bis
X.21bis เป็นเลเยอร์โพรโทคอลทางกายภาพที่ใช้ใน X.25 โดยอธิบายในรูปของอิเล็กทรอนิกส์และรูปของเครื่องจักรที่ใช้ในระดับกลางๆ. X.21bis เป็นเครื่องมือกระตุ้นและระงับของอุปกรณ์เชื่อมต่อ DTEและ DCEในระดับภายนอกกลางๆ.ซึ่งมันจะสนับสนุนการเชื่อมต่อแบบ จุดต่อจุด และมีความเร็วถึง19.2 kbps,และสัมพันธ์กัน,การส่งข้อมูลทางมีเดียร์เป็นแบบ full-Duplex มากกว่า 4เส้น
-ช่วยให้ remote Device สามารถที่จะติดต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายดิจิตอลความเร็วสูง
-Packet Switching เป็นเทคนิคในการหาเส้นทางให้กับแต่ละ packet ของ HDLC data ที่มีจุดหมายปลายทางต่างกัน
-x.25 protocol ทำงานบน 3 Layer ล่าง บน OSI Layer
-User ปลายทาง คือ DTE
-อุปกรณ์ที่ช่วยถ่ายทอดข่าวสารคือ DCE
-Switching virtual circuits (SVCs) คล้ายกับระบบโทรศัพท์ กล่าวคือ Create Connection แล้วส่งข่าวสาร และ close connection เมื่อเสร็จสิ้น ซึ่งทุก DTE จะมีที่อยู่ไม่ซ้ำกันบน Network
-Permanent virtual circuits (PVCs) ค้ลายกับระบบคู่สายเช่า ใช้การเชื่อมต่อเต็มเวลา packet จะถูกส่งออกไปโดยไม่มีการ create connection ขึ้นก่อน
-การสร้าง connection ใช้ SVC ทำโดย DTE ต้นทาง จะส่ง Call Request packet ซึ่งมีที่อยู่ของ DTE ปลายทางไปยัง Network และ DTE ปลายทางจะทำการตัดสินใจว่าจะตอบรับหรือไม่ ถ้าตอบรับก็จะส่ง Call Accepted packet กลับมา หรือถ้าไม่รับ จะส่ง Clear packet เมื่อต้นทางได้รับ Call Accepted packet แล้ว Virtual Circuit จะเกิดขึ้นทันทีแล้วจะเริ่มส่งข้อมูลกัน และเมื่อ DTE ใดต้องการยกเลิกการเชื่อต่อ ก็จะส่ง Clear Request packet ออกไปอีกฝั่งก็จะตอบรับด้วย Clear Confirmation packet
-ทุก packet จะถูกทำเครื่องหมายด้วย Logical Channel Identifier (LCI) หรือ Logical Channel Numer (LCN) ซึ่งจะใช้เป็นตัวตัดสินใจหาเว้นทางที่เหมาะสมไปยัง DTE ปลายทาง
-ขนาดของ packet จะมีตั้งแต่ 64byte ไปจน 4096 byte แต่ 128 byte คือ default
-store-and-forward is nuture of Packet Switching
-ปัญหาของ x.25 คือ Inherent Delay เพราะมาจากเทคนิค store-and-forward และยังต่อมีการจอง buffer ขนาดใหญ่ ซึ่งตรงข้ามกับ frame relay ที่จะไม่มีการ store แต่จะ switch หาเส้นทางที่เหมาะสมในทันที นอกจากนี้ x.25 ยังมีการตรวจสอบ Error ทุกครั้งที่ได้รับ packet และก่อนที่จะ switch ต่อไปอีกที่
-เมื่อตรวจพบ Erroe apcket ตัว Switching จะยกเลิก packet นั้นออกไปทันที ส่วน DTE ปลายทางก็จะรอจน Time-Out แล้วส่งใหม่
- x.25 เป็นจุดต้นกำเนิดของ frame relay หรือ Cell Relay
ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/X.25".
วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
ข้อสอบ IPv6
ก. ตัวเลขสามารถซ้ำกันได้ทุกตัว
ข. สามารถใช้เครื่องหมาย “;” คั่นระหว่างเลขแต่ละหลักได้
ค. ตัวเลขทุกตัวจะต้องไม่ซ้ำกัน
ง. แต่ละประเทศมีข้อกำหนดที่ต่างกัน
2. IP Address มีชื่อเต็มว่า
ก. Internet Protocall Address
ข. Internet Protocol Address
ค. Internat Protocall Address
ง. Internets Protocol Address
3. Internet Protocol version ใดที่ใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน
ก. IPv1
ข. IPv2
ค. IPv3
ง. IPv4
4. เหตุใดจึงมีการคิดค้น Internet Protocol version ใหม่ขึ้น
ก. เพราะ IP Address ที่มีอยู่ไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้
ข. เพราะต้องมีการคิดค้นเวอร์ชันใหม่ทุกๆ 3 ปี
ค. เป็นการลงมติเห็นชอบจากเวทีโลก
ง. ไม่มีข้อใดถูก
5. IPv4 และ IPv6 แตกต่างกันอย่างไร
ก. IPv4 มี 128 บิต IPv6 มี 64 บิต
ข. IPv4 มี 128 บิต IPv6 มี 32 บิต
ค. IPv4 มี 32 บิต IPv6 มี 128 บิต
ง. IPv4 มี 32 บิต IPv6 มี 64 บิต
6. ข้อใดผิด
ก. IPv6 ผู้บริหารมีส่วนในการบริหารจัดการงานมากขึ้น
ข. IPv6 ระบบมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
ค. IPv6 เครือข่ายมีการทำงานแบบ Real Time Processi
ง. IPv6 มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบเคลื่อนที่ (Mobile IP)
7. เหตุใดประเทศในแถบอเมริกาเหนือจึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้ IPv6
ก. เพราะสังคมเป็นแบบประชาธิปไตย
ข. เพราะมี IP Address ที่กำหนดขึ้นใช้เองเฉพาะชาวอเมริกัน
ค. เพราะมีรากฐานเศรษฐกิจที่มั่นคง
ง. เพราะได้รับการจัดสรร IP Address ไปถึง 70% ของ IP Address ที่ใช้ทั่วโลก
8. แนวโน้มการพัฒนาด้านเทคโนโลยีมีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้ IP Address อย่างไร
ก. ทำให้ IP Address มีปริมาณเกินความต้องการ
ข. มีการนำเอา IP Address มาใช้กับเทคโนโลยี ทำให้ต้องการใช้ IP Address มากขึ้น
ค. เทคโนโลยีด้านอื่นจะเข้ามาแทนการใช้ IP Address
ง. การใช้ IP Address ควบคู่กับเทคโนโลยีจะถูกจำกัดในวงแคบ
9. ข้อใด ไม่ใช่ ประโยชน์ของการมี IP Address ที่อุปกรณ์อำนวยความสะดวกหรือเครื่องใช้ไฟฟ้า
ก. สามารถส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็วในการสื่อสาร
ข. เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้เหมือนคอมพิวเตอร์ โดยที่ไม่ต้องผ่านระบบใดๆ
ค. ทำให้ระบบภายในของอุปกรณ์นั้นๆ เกิดผลเสีย
ง. ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
10. เหตุใดเราจึงควรศึกษาและทำความเข้าใจในเรื่อง IPv6
ก. เพราะหาก IPv4 ถูกใช้หมดไป IPv6 เป็นสิ่งที่จะแก้ปัญหานี้ได้
ข. เพื่อเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์ในอนาคต
ค. เพื่อความได้เปรียบทางธุรกิจและโอกาสในหลายๆ ด้าน
ง. ถูกต้องทุกข้อ
11.การขอหมายเลข IP Address จะต้องไปจดทะเบียนกับผู้รับจดทะเบียนอินเทอร์เน็ตระดับภูมิภาค หรือเรียกอีกอย่างว่า
ก. PIT
ข. RIR
ค. LPG
ง. PLI
12.ความจำเป็นในการใช้ IPv6 นั้นขึ้นอยู่กับความต้องการใช้อะไร
ก. mont
ข. IP Address
ค. toryt
ง. fopbfor
13. IPv4 นี้มีที่มาจากเลขฐานสองขนาดกี่บิต
ก. 36 บิต
ข. 32 บิต
ค. 45 บิต
ง. 40 บิต
14.จุดเด่นของ IPv6 ที่พัฒนาเพิ่มขึ้นมากจาก IPv4 คืออะไร
ก.ขยายขนาด Address ขึ้นเป็น 128 บิต สามารถรองรับการใช้งาน IP Address ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วได้
ข.เพิ่มขีดความสามารถในการเลือกเส้นทางและสนับสนุน Mobile Host
ค.สนับสนุนการทำงานแบบเวลาจริง (real-time service)
ง.ถูกทุกข้อ
15. IP v6 ได้กำหนดกฎในการระบุตำแหน่งเป็นกี่ประเภท
ก. 1 ประเภท ค. 3 ประเภท
ข. 2 ประเภท ง. 4 ประเภท
16. IPv6 มีขนาดของ address กี่ไบท์
ก. 10 ไบท์
ข. 11 ไบท์
ค. 13 ไบท์
ง. 16 ไบท์
17. การเคลื่อน IPv6 packet จาก segment หนึ่งไปอีก segment หนึ่งมีความง่ายขึ้นด้วยโครงสร้างการค้นหาเส้นทางแบบใด
ก. แบบลำดับชั้น
ข. แบบผสม
ค. แบบต่อเนื่อง
ง. แบบล่าง
18. RIR ที่ได้จัดสรรหมายเลข IPv6 มากที่สุด คือ
ก. RIPL MCC
ข. RIPE NCC
ค. RIPT ACC
ง. RIPG TCC
19. Pv6 สนับสนุนการปรับแต่งระบบแบบแบบใด
ก. แบบอัตโนมัติ
ข. แบบถาวร
ค. แบบชั่วคราว
ง. แบบต่อเนื่อง
20. IPv6 ได้รับการออกแบบให้ปฏิรูปกลุ่มของการปรับปรุง IP เวอร์ชัน ใด
ก. 2
ข. 3
ค. 4
ง. 5
21.หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดสรร IP Address เหล่านี้คือ
ก.หน่ายงานจากต่างประเทศ
ข.หน่วยงานภายในประเทศไทย
ค.องค์การระหว่างประเทศที่ชื่อว่า Network Information Center - NIC
ง.ถูกทุกข้อ
22.เฮดเดอร์ของ IPV 6 เทียบกับของ IPV 4 จะสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างอะไรบ้าง
ก.ตำแหน่งที่ตัดออก
ข.ตำแหน่งที่ปรับเปลี่ยน
ค.ตำแหน่งที่เพิ่ม
ง.ถูกทุกข้อ
23. RIR ย่อมาจาก
ก.(Regional Internet Registrey)
ข.(Regional Internet Registreey)
ค.(Regional Internet Registessy)
ง.(Regional Internet Registry)
24.เทคนิคการทำงานร่วมกันระหว่าง IPv4 และ IPv6 แบ่งออกเป็นกี่ประเภท
ก.1
ข.2
ค.3
ง.4
25.ข้อใดคือชื่อ ก่อนที่จะพัฒนามาเป็น IPV4
ก.IP Address
ข.IPV1
ค.IPV2
ง.IPV3
26. การใช้งาน IPv4 และ IPv6 ควบคู่กันหรือที่เรียกว่าอะไร
ก. Fual stack
ข. Bual stack
ค. Eual stack
ง. Dual stack
27.IPV6 ถูกเริ่มใช้ที่ไหนก่อน
ก. ทวีปเอเชียและยุโรป
ข. ทวีปอเมริกาเหนือ
ค. ทวีปอเมริกาใต้
ง. ไม่มีข้อถูก
28. IPV6 จะประกอบด้วยเลขฐานสองจำนวนเท่าไร
ก. 128 bit
ข.127 bit
ค.126 bit
ง.125bit
29. ใน IPv6 header อนุญาตให้อะไรทำการระบุและดูแลแพ็ตเก็ตที่ไหล
ก.Router
ข.Routerse
ค.Routeredse
ง.Routeree
30. IPv6 เพิ่มอะไร เพื่อที่จะบังคับขนาดของแพ็ตเก็ต IPv6 เท่านั้น
ก. molder
ข. Sracrer
ค. Hear
ง. Headers
เฉลย
1. ค 10. ง 19. ก 28. ก
2. ข 11. ข 20. ค 29. ก
3. ง 12. ข 21. ค 30. ง
4. ก 13. ข 22. ง
5. ค 14. ง 23. ง
6. ก 15. ค 24. ค
7. ง 16. ง 25. ก
8. ข 17. ก 26. ง
9. ค 18. ข 27. ก
วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
Routing Protocol
โพรโทคอลที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน routing table ระหว่างอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆที่ทำงานในระดับ Network Layer (Layer 3) เช่น Router เพื่อให้อุปกรณ์เหล่านี้สามารถส่งข้อมูล (IP packet) ไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทางได้อย่างถูกต้อง โดยที่ผู้ดูแลเครือข่ายไม่ต้องแก้ไขข้อมูล routing table ของอุปกรณ์ต่างๆตลอดเวลา เรียกว่าการทำงานของ Routing Protocol ทำให้เกิดการใช้งาน dynamic routing ต่อระบบเครือข่าย
ตัวอย่าง Routing Protocol
RIP (Routing Information Protocol)
OSPF (Open Shortest Path First)
IGRP (Interior Gateway Routing Protocol) (Cisco Proprietary)
EIGRP (Enhanced Interior Gateway Routing Protocol) (Cisco Proprietary)
BGP (Border Gateway Protocol)
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/Routing_Protocol
วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
ข้อสอบ
1. ข้อใดคือ 11001010.00011101.00111001.00000010
ก. 202.50.5.3
ข.202.53.3.2
ค. 202.29.57.2
ง.202.29.52เฉลย ค. 202.29.57.2
2.ข้อใดคือ 0111110.1.00011000.10011011.01000010
ก. 125.20.155.66
ข. 125.24.155.66
ค. 125.50.15.66
ง. 120.25.55.58
เฉลย ข. 125.24.155.66
3.42.58.5.29 คือ IP Class อะไร
ก. A
ข. B
ค. C
ง. D
4.IP Class A รองรับได้กี่ Host
ก. 2^10 Host
ข. 2^16 Host
ค. 2^14 Host
ง. 2^8 Host
เฉลย ก. 2^10 Host
5. IP Private Class C รองรับได้กี่ Host
ก. 2^10 Host
ข. 2^16 Host
ค. 2^14 Host
ง. 2^8Host
เฉลย ง. 2^8Host
6. คลาสของ Network ข้อใดคือ class A
ก. N.N.N.H
ข. N.H.H.H
ค. N.H.N.H
ง. H.H.H.N
เฉลย ข. N.H.H.H
7.คลาสของ Network ข้อใดคือ Class C
ก. N.N.N.H
ข. N.H.H.H
ค. N.H.N.H
ง. H.H.H.N
เฉลย ก. N.N.N.H
8.Private IP Addresses Class B คือ
ก. 192.168.0.0 through 192.168.255.255
ข. 172.16.0.0 through 172.16.255.255
ค. 10.0.0.0 through 10.255.255.255
ง. 172.16.0.0 through 172.31.255.255
เฉลย ง. 172.16.0.0 through 172.31.255.255
9.Broadcast Address ของ Class C คือ
ก. 255.255.255.254
ข. 255.255.255.256
ค. 255.255.255.255
ง. 255.255.255.0
เฉลย ค. 255.255.255.255
10.ข้อใดคือ Private IP Address
ก. 12.0.0.1
ข. 172.20.14.36
ค. 168.172.19.39
ง. 172.33.194.30
เฉลย ข. 172.20.14.36
11.Subnet Mask ของ /17 คือ
ก. 255.255.128.0
ข. 255.248.0.0
ค. 255.255.192.0
ง. 255.255.248.0
เฉลย ก. 255.255.128.0
12.Subnet Mask ของ /25 คือ
ก. 255.255.128.0
ข. 255.255.255.128
ค. 255.255.255.0
ง. 255.255.255.240
เฉลย ข. 255.255.255.128
13.Subnet Mask ของ /20 คือ
ก. 255.255.240.0
ข. 255.240.0.0
ค. 255.255.255.0
ง. 255.255.255.240
เฉลย ก. 255.255.240.0
14.Network Mask ของ Class C คือ
ก. 255.0.0.0
ข. 255.255.0.0
ค. 255.255.255.0
ง. ถูกเฉพาะ ข้อ ข.
เฉลย ง. ถูกเฉพาะ ข้อ ข.
15.network Mask ของ Class C คือ
ก. 255.0.0.0
ข. 255.255.0.0
ค. 255.255.255.0
ง. ถูกทุกข้อ.เฉลย ค. 255.255.255.0
16.สัญลักษณ์ของการ Mark คือ
ก. #
ข. \
ค. .
ง. /
เฉลย ง. /
17.CIDR คือ
ก. การจัดสรร Subnet แบบไม่แบ่งคลาส
ข. การจัดสรร IP แบบไม่แบ่งคลาส
ค. การหาเส้นทางแบบไม่แบ่งคลาส
ง. การจับรอดแคสสัญญาณข้อมูล แบบไม่แบ่งคลาส
เฉลย
18.การแบ่ง Subnet แบบ Mark 3 Bit ของ Class C มี CIDR เท่ากับ
ก. /21
ข. /25
ค. /27
ง. /29
เฉลย ค. /27
19.การแบ่ง Subnet แบบ Mark 5 Bit ของ Class B มี CIDR เท่ากับ
ก. /15
ข. /17
ค. /19
ง. /21
เฉลย ง. /21
20.การแบ่ง Subnet แบบ Mark 8 Bit ของ Class B มี CIDR เท่ากับ
ก. /16
ข. /20
ค. /24
ง. /27
เฉลย ค. /24
21.การแบ่ง Subnet แบบ Mark 5 Bit ของ Class A มี CIDR เท่ากับ
ก. /13
ข. /21
ค. /30
ง. ผิดทุกข้อ
เฉลย ก. /13
22.จำนวน Host ของการ Mark 4 Bit Class C เท่ากับเท่าใด
ก. 2024 Host
ข. 254 Host
ค. 18 Host
ง. 14 Host
เฉลย ง. 14 Host
23.จำนวน Host ของการ Mark 5 Bit Class C เท่ากับเท่าใด
ก. 2 Host
ข. 6 Host
ค. 14 Host
ง. 30 Host
เฉลย ข. 6 Host
24.จำนวน Subnet ของการ Mark 4 Bit Class A เท่ากับเท่าใด
ก. 2 Subnets
ข. 6 Subnets
ค. 14 Subnets
ง. 30 Subnets
เฉลย ค. 14 Subnets
25. จำนวน Subnet ของการ Mark 6 Bit Class B เท่ากับเท่าใด
ก. 14 Subnets
ข. 30 Subnets
ค. 62 Subnets
ง. 126 Subnets
เฉลย ค. 62 Subnets
26.จำนวน Host ที่เชื่อมต่อได้สูงสุดของ 255.255.255.224
ก. 28 Hosts
ข. 32 Hosts
ค. 30 Hosts
ง. 62 Hosts
เฉลย ค. 30 Hosts
27.จำนวน Host ที่เชื่อมต่อได้สูงสุดของ 255.255.255.192
ก. 28 Hosts
ข. 32 Hosts
ค. 30 Hosts
ง. 62 Hosts
เฉลย ง. 62 Hosts
28.จำนวนวน Host ที่เชื่อมต่อได้สูงสุดของ 255.255.255.192
ก. 4094 Hosts
ข. 521 Hosts
ค. 1024 Hosts
ง. 128 Hosts
เฉลย ก. 4094 Hosts
29.ต้องการใช้ Subnet จำนวน 29 Subnet จะยืม (Mark) จาก คลาส A เท่าไดไหร่
ก. 3
ข. 4
ค. 5
ง. 6
เฉลย ค. 5
30.จากข้อ 29 Subnet Mask ที่แสดงคือ
ก. 255.192.0.0
ข. 255.255.255.248
ค. 255.255.248.0
ง. 255.248.0.0
เฉลย ง. 255.248.0.0
31.ข้อไดไม่ใช่ Sub network ID สำหรับเครื่องที่ใช้ IP Address หมายเลข 200.10.5.68/28
ก. 200.10.5.56
ข. 200.10.5.32
ค. 200.10.5.64
ง. 200.10.5.0
32.ข้อใดคือ Network Address ของหมายเลข172.16.0.0/19
ก. 8 Subnets ; 2,046 Hosts
ข. 8 Subnets ; 8,198 Hosts
ค. 7 Subnets ; 30 Hosts
ง. 7 Subnets ; 62 Hosts
33.ข้อใดคือ Subnet ของ IP address 172.16.210.0/22
ก. 172.16.208.0
ข. 172.16.254.0
ค. 172.16.107.0
ง. 172.16.254.192
34.ข้อใดคือ Subnet ของ IP Address 201.100.5.68/28
ก. 201.100.5.31
ข. 201.100.5.64
ค. 201.100.5.65
ง. 201.100.5.1
35. ข้อใดคือ Subnet ของ IP Address 172.16.11.1/25
ก. 172.16.112.0
ข. 172.16.0.0
ค. 17.16.96.0
ง. 172.15.255.0
กำหนด IP Address 192.168.1.1/28 จงคำนวณหา Sub network ID IP Usage และ Broadcast แลัวตอบคำถาม
36.หมายเลยใด ไม่สามารถใช้ได้
ก. 192.168.1.13
ข. 192.158.1.226
ค. 193.168.1.31
ง. 192.168.1.253
37.หมายาเลยใด เป็น Sub network Id ของ Subnet ที่ 00001000
ก. 192.168.1.13
ข. 192.168.1.226
ค. 192.168.1.31
ง. 192.168.1.253
38.หมายเลขใด เป็น Broadcast ID ของ Subnet ที่ 000010000
ก. 192.168.1.13
ข. 192.168.1.16
ค. 192.168.1.31
ง. 192.168.1.32
39.หมายเลขใด เป็น Sub network ID ของ Subnets ที่ 001100000
ก. 192.168.1.63
ข. 192.168.1.45
ค. 192.168.1.48
ง. 192.168.1.111
40.หมายเลขใด เป็น Broadcast ID ของ Subnet ที่ 001100000
ก. 192.168.1.63
ข. 192.168.1.45
ค. 192.168.1.48
ง. 192.168.1.100
41.หมายเลขใด เป็น IP Usage ของ Subnet ที่ 001100000
ก. 192.168.1.50
ข. 192.168.1.96
ค. 192.168.1.81
ง. 192.168.1.10
กำหนด IP Address 102.168.1.1/27 จงคำนวณหา Sub network Id IP Usage และ Broadcast แล้วตอบคำถาม
42. ข้อใดไม่เข้าพวก
ก. 192.168.1.1
ข. 192.16.1.95
ค. 192.168.33
ง. 192.168.1.124
43.ข้อใดไม่เข้าพวก
ก. 192.168.1.0
ข. 192.168.1.06
ค. 192.168.32
ง. 192.168.1.159
44.หมายเลขใด ไม่สามารถใช้ได้
ก. 192.168.1.193
ข. 192.168.1.161
ค. 192.16.1.127
ง. 192.168.1.60
45.ข้อใดคือ IP Usage ของ Dub network 192.168.1.96
ก. 192.168.1.0 -192.168.1.31
ข. 192.168.1.65 - 192.168.1.04
ค. 192.168.1.97 – 192.168.1.126
ง. 192.168.1.95 – 192.168.1.127
จงใช้ภาพด้านล่างตอบคำถามข้อ
46-50กำหนดให้ใช้ IP Private Network Class C 192.168.1.1NET_A :13 HostsNET_B :50 HostsNET_C :2 HostsNET_D :25 Hosts
46.Net_D ควรใช้ / อะไร
ก. /26
ข. /27
ค. /28
ง. /2947.จาก Network
47.ข้างต้น ใช้ Sub net mask อะไรจึงจะรองรับได้ทุก Network
ก. /26
ข. /27
ค. /28
ง. /29
48.Net_C มีหมายเลย Sub net mask อะไร
ก. 255.255.255.192
ข. 255.255.255.254
ค. 255.255.255.248
ง. 255.266.255.252
49.Net_B มีหมายเลข Subnet Mask อะไร
ก. 255.255.255.192
ข. 255.255.255.254
ค. 255.255.255.248
ง. 255.255.2555.252
50.หากใช้ /26 หมายเลข Sub network IP ของ Network สุดท้ายคือ
ก. 102.168.1.128
ข. 192.168.1.192
ค. 192.168.1.191
ง. 192.168.1.255
51.จากภาพด้านบนเกิดจากการใช้คำสั่งใด
ก. Arq –a
ข. Netstat
ค. Nslookup
ง. Tracert
52. จากภาพด้านบนเกิดจากการใช้คำสั่งใด
ก. Arp-a
ข. Netstat
ค. Nslookup
ง. Ipconfig/all
53.จากภาพด้านบนเกิดจากการใช้คำสั่งใด
ก. Tracert-a
ข. Netstat
ค. Nslookup
ง. Ipconfig/all
54.การใช้คำสั่งตรวจสอบดู computer Name คือ
ก. Ipconfig
ข. Nslookup
ค. Nostname
ง. Tracert
55.การใช้คำสั่งตรวจสอบดู IP และ Subnet Mask คือ
ก. IPconfig
ข. Nslookup
ค. Hostname
ง. Tracert
56.การตรวจสอบการเชื่อมต่อระหว่างต้นทางและปลายทางคือ
ก. Ipconfig
ข. Nslookup
ค. Hostname
ง. Tracert
57.Destination Host Unreachable หมายความว่า
ก. ติดตั้ง IP ที่ Host ไม่ถูกต้อง
ข. ติดตั้ง Card LAN ไม่ถูกต้อง
ค. Host ไม่ถูกเชื่อมต่อกับเครื่องที่ PING
ง. HOST ไม่ถูกเชื่อมต่อกับระบบ
58.Tracert คือ
ก. การหาเส้นทางการเชื่อมต่อจากต้นทางไปปลายทาง
ข. การหาเส้นทางการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์
ค. การตรวจสอบสถานะของระบบเครือข่าย
ง. ตรวจสอบความผิดพลาดของ Packet
59.การเข้าหน้า CMD ทำอย่างไรในครั้งแรก
ก. Start > run > cmd
ข. Start > run > connand
ค. Start > allprogram > accessories> command prompt
60.ARP(Address Resolution Protocol) หรือหมายเลข LAN Card มีกี่ไบต์
ก. 6 Bit
ข. 16 Bit
ค. 8 Bit
ง. 32 Bit
วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552
Ethernet (IEEE 802.3)
Ethernetในระยะเวลาปี 1972 Metcalfe และผู้ร่วมงานใน Xerox PARC ได้พัฒนาการทดลองระบบ Ethernet เพื่อติดต่อกับ Xerox Alto workstation ด้วย user interface การทดลองของ Ethernet ทำให้สามารถเชื่อมต่อระหว่าง Alto กับหน่วยงานอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น server และเครื่องพิมพ์ สัญญาณนาฬิกาที่ใช้ติดต่อกับการทดลอง Ethernet นี้ได้รับการติดต่อมาจากระบบนาฬิกาของ Alto ที่มีผลของอัตราการส่งข้อมูลจากการทดลองเป็น 2094 Mbps
Ethernet เป็นระบบ LAN อีกระบบที่มีค่าใช้จ่ายน้อยแต่ความเร็วสูง โดย adapter card สำหรับ PC มีราคาอยู่ในช่วง 60 $ ถึง 120 $ โดยที่สามารถส่งถ่ายและรับข้อมูลในอัตรา 10 million bits per sec. ในระยะทาง 300 ฟุตของสายโทรศัพท์ โดยใช้ศูนย์กลางของการเดินสายไปในห้องเล็ก ๆ ในแต่ละจุด จะใช้ทั้งสาย Thicknet และสาย Fiber optic
เครือข่ายอีเธอร์เน็ตแบบสตาร์หรือมีชื่อทางเทคนิคว่า 10BaseT ซึ่งต่อไปจะเรียกง่าย ๆ ว่าระบบ LAN แบบสตาร์ จะใช้อุปกรณ์ประเภท Hub หรือ Switch เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อโดยจะต้องใช้สาย UTP (CAT5) ต่อระหว่างการ์ด LAN ของเครื่องพีซีแต่ละเครื่องมาที่พอร์ตของ Hub หรือ Switch เครือข่ายแบบนี้นิยมใช้ในบริษัทหรือตามร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ทั่ว ๆไป ถ้าจะนำมาใช้ในบ้านก็ไม่ผิด เนื่องจากราคาอุปกรณ์ไม่ว่าจะเป็น Hub หรือ Switch การ์ด LAN และสาย UTP (CAT5) ในปัจจุบันค่อนข้างถูกในขณะที่ความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงมากถึง 100 Mbps ( จริง ๆ ปัจจุบันได้ถึง 1000 Mbps แต่อุปกรณ์ยังมีราคาแพงอยู่) ซึ่งเพียงพอต่อการเล่นเกมผ่านระบบ LAN ได้อย่างสบาย วิธีนี้พวกร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่นำไปใช้เป็นสูตรสำเร็จในการสร้างระบบ LAN ภายในร้านกันถ้วนหน้า
1 Hub หรือ Switchทั้ง Hub หรือ Switch ( หรือ Switching Hub) ต่างเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นจุดเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าในระบบ LAN แบบสตาร์ หน้าตาของ Hub และ Switch ดูภายนอกจะคล้าย ๆ กันคือ มีลักษณะ เป็นกล่องสี่เหลี่ยมที่ด้านหน้าจะมีพอร์ตแบบ RJ-45 ไว้ให้เสียบที่มาจากการ์ด LAN สำหรับจำนวนพอร์ตต่อตัวก็แตกต่างกันไปซึ่งมีตั้งแต่ 4, 5, 8, 12, 16 และ 24 พอร์ต ขึ้นอยู่กับยี่ห้อและรุ่น หน้าตาของ Hub และ Switch
2 LAN Cardการ์ด LAN มีชื่อเรียกกันหลายอย่าง เช่น Network Adapter Card, Network Interface Card (NIC) และ Ethernet Card แต่เราเรียกย่อ ๆ ว่า “ การ์ด LAN” เครื่องพีซีหรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่จะต่อเข้ากับระบบ LAN ทุกตัวจะต้องมีการ์ด LAN ซึ่งอาจติดมากับเครื่องพีซีบางรุ่นเลย หรืออาจต้องซื้อมาเสียบเพิ่ม ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นแบบเสียบเข้ากับสล็อต PCI หรือถ้าเป็นรุ่นเก่าหน่อยก็จะเป็นแบบเสียบกับสล็อต ISA ดังนั้นก่อนจะซื้อการ์ด LAN ควรจะตรวจสอบเมนบอร์ดของเครื่องพีซีก่อนว่ามีสล็อตเป็นแบบ PCI หรือ ISA พร้อมกับตรวจสอบระดับความเร็วของ Hub หรือ Switch ที่จะมาใช้คู่กันด้วย
การ์ด LAN ที่ใช้กับระบบ LAN แบบสตาร์นั้นจะต้องมีช่องไว้สำหรับเสียบสาย UTP แบบ RJ-45 ด้วย ซึ่งลักษณะจะแตกต่างจากการ์ด LAN ที่ใช้สำหรับระบบ LAN แบบบัสที่เป็นแบบหัวกลม นอกจากนี้ก็ยัง มีการ์ดแบบผสมที่ใช้ได้ทั้งกับระบบ LAN แบบบัสและระบบ LAN แบบสตาร์ สำหรับการ์ด LAN ที่ใช้กับระบบ LAN แบบสตาร์จะมีทั้งความเร็ว 10, 100 หรือ 10/100 Mbps หน้าตาของการ์ด LAN เป็นดังรูปข้างล่างซึ่งจะมีช่องเสียบกับสาย UTP ที่เข้าหัวแบบ RJ-45
การเลือกซื้อการ์ด LAN จะต้องเลือกการ์ดที่มีระดับความเร็วที่เข้ากันได้กับ Hub หรือ Switch เพราะถ้าซื้อ Hub หรือ Switch แบบ 100 Mbps แล้วการ์ด LAN ของเป็น 10 Mbps ก็ใช้ด้วยกันไม่ได้ ดังนั้นถ้าจะให้ ยืดหยุ่นหรือปลอดภัยไว้ก่อนควรซื้อแบบ 10/100 Mbps ( ใช้ได้ทั้งแบบ 10 และ 100 Mbps) ไปเลยดีกว่าทั้งการ์ด LAN และ Hub/Switch
4 สายคู่บิดเกลียว ( Twisted Pair)คือสายสัญญาณที่ใช้ในระบบ LAN แบบสตาร์ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิดคือ แบบมีฉนวนหุ้มที่เรียกว่า “Shielded Twisted Pair” หรือ STP และแบบไม่มีฉนวนหุ้ม หรือ “Unshielded Twisted Pair) หรือ UTP แบบมีฉนวนหุ้มจะสามารถป้องกันการรบกวนทางไฟฟ้าได้ดีกว่า แต่ถ้าใช้กับระบบ LAN โดยทั่ว ๆ ไปจะใช้สาย UTP แบบ CAT5 (Category 5) ซึ่งให้ความเร็วได้สูงสุด 100 Mbps และระยะทำการ ไม่เกินเส้นละ 100 เมตร ในปัจจุบันมีสายแบบ UTP แบบ CAT5e ซึ่งสามารถสนับสนุนความเร็วได้ถึง 1000 Mbps หรือ 1 จิกาบิต ที่ใช้กับ Gigabit Ethernet แต่สามารถนำมาใช้แทน CAT5 ได้
เครือข่ายอีเธอร์เน็ตแบบบัสมีชื่อเรียกกันไปหลาย ๆ อย่าง เช่น 10Base2, Thinnet, CheaperNet หรืออะไรก็ตาม แต่เรียกง่าย ๆ ว่าระบบ LAN แบบบัส คือระบบ LAN แบบอีเธอร์เน็ตที่ไม่ต้องมี Hub/Switch โดยสายที่ใช้จะต้องเป็นสายที่เรียกว่า “ โคแอกเชียล ” (Coaxial) และ “ การ์ด LAN” ที่ใช้จะต้องเป็นแบบ BNC ซึ่งจะทำความเร็วได้สูงสุด 10 Mbps
1 สายโคแอกเชียล ( Coaxial) และหัวต่อต่าง ๆสายโคแอกเชียลหรือที่เรียกว่า “10Base2” คือสายสัญญาณที่ใช้ในระบบ LAN แบบบัสมี 2 แบบคือแบบหนา ( Thick Coaxial) และแบบบาง ( Thin Coaxial) แต่ที่จะนำมาใช้คือแบบบาง หรือเรียกอีกย่างหนึ่งว่า RG-58 ซึ่งมีความต้านทาน 50 โอห์ม การต่อสายเข้ากับการ์ด LAN ที่มีหัวแบบ BNC (British Naral Connector) โดยผ่านตัว T-Connector และที่ปลายสายทั้งสองด้าน จะต้องปิดด้วยหัวจุก Terminator ขนาด 50 โอห์มเสมอ ระยะทำการของสายจากเครื่องแรกจนกระทั่ง เครื่องสุดท้ายไม่เกินประมาณ 185 เมตร
การต่อโดยใช้สาย Coaxial และหัวต่อต่างๆ
1 HomePNA Adapterคืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่คล้าย ๆโมเด็ม ซึ่งมีแบบภายในและภายนอก โดย Adapter แบบภายในจะ เสียบสล็อตแบบ PCI ในเครื่องพีซี สำหรับ Adapter แบบภายนอกจะเสียบเข้ากับพอร์ต USB ของเครื่องพีซี และ Adapter ทั้งสองชนิดนี้จะมีพอร์ตหรือปลั๊กโทรศัพท์ ( RJ-45) อยู่ 2 ช่องโดยช่องแรกจะไว้ให้เสียบ สายโทรศัพท์เข้ากับปลั๊กโทรศัพท์ตามผนังห้องในบ้าน และช่องที่สองไว้สำหรับต่อเข้าหัวโทรศัพท์ หรือโมเด็มได้ ซึ่งในระหว่างที่คุยโทรศัพท์หรือโมเด็มอยู่ก็จะไม่ไปรบกวนสัญญาณของอุปกรณ์ HomePNA Adapter แต่อย่างใด กล่าวคือสามารถใช้พร้อมกันได้นั่นเอง
รูปแสดง Adapter PCI and HomePNA
2 HomePAN to Ethernet Bridgeในกรณีที่ต้องการเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายประเภทอื่น ๆ เช่น เครือข่ายอีเธอร์เน็ต หรือเอาไว้ต่อพ่วงเข้ากับอุปกรณ์สำหรับแชร์อินเตอร์เน็ต (Internet Gateway) ที่ใช้ ADSL/cable Modem
http://www2.cs.science.cmu.ac.th/seminar/2547/Powerline_Network/nettech.htmhttp://staff.cs.psu.ac.th/noi/cs344-481/group19_ethernet/Ethernet.htm
อิเธอร์เนต 10 Mbps (10BASE-T)
อิเธอร์เนต 10 Mbps
การเชื่อมต่อแบบ 10BaseT นั้นเป็นที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากติดตั้งได้ง่าย และดูแลรักษาง่าย ความจริง 10BaseT ไม่ได้เป็น Ethernet โดยแท้ แต่เป็นการผสมระหว่าง Ethernet และ Tolopogy แบบ Star สายที่ใช้ก็จะเป็น สาย UTP และมีอุปกรณ์ตัวกลางเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างสายที่มาจากเครื่อง ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย อุปกรณ์ตัวกลางนี้เรียกว่า HUB ซึ่งจะคอยรับสัญญาณระหว่าง เครื่อง Client กับเครื่อง Server ในกรณีที่มีสายจากเครื่อง Client ใดเกิดเสียหรือมีปัญหา สัญญาณไฟที่ปรากฏอยู่บน Hub จะดับลง ทำให้เราทราบได้ว่า เครื่อง Client ใดมีปัญหา และปัญหาที่เกิดขึ้น จะไม่มีผลกระทบใด ๆ ต่อระบบ Network เลย แต่ระบบนี้จะต้องทำการดูแลรักษา Hub ให้เป็นอย่างดี เนื่องจาก Hub มีปัญหา จะส่งผลกระทบ ทำให้ระบบหยุดชะงักลงทันที
การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายในลักษณะ 10BaseT นั้น เครื่องทุกเครื่องจะต้องเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ HUB โดยใช้สาย UTP ซึ่งเข้าหัวต่อเป็น RJ45 เสียบเข้ากับ HUB และ Card Lan ซึ่งจะเห็นว่า เครือข่ายแบบ 10BaseT นี้จะใช้อุปกรณ์ไม่กี่อย่าง ซึ่งต่างกับระบบเครือข่าย 10Base2 แต่อุปกรณ์ของ 10BaseT นั้นจะแพงกว่า
แหล่งที่มา http://www.tanti.ac.th/Com-tranning/NetWork/net2/10tbase.htm
Fast Ethernet
Fast Ethernet
เช่นเดียวกับเทคโนโลยีเครือข่ายอื่น ๆ ระบบเครือข่าย Fast Ethernet สามารถทำงานบนสื่อสายสัญญาณ ต่าง ๆ ที่สามารถใช้ได้ดีบนเครือข่ายแบบนี้ ได้แก่ สายตีเกลียวแบบ Unshield Twisted Pair (UTP) แบบ Categories 5 และ 3 รวมทั้งสาย Fiber Optic
ระบบเครือข่าย LAN เช่นระบบ Ethernet และ Fast Ethernet จัดได้ว่าเป็นเครือข่ายที่ไม่ขึ้นอยู่กับสายสื่อสัญญาณที่ใช้ หมายความว่า การทำงานขั้นพื้นฐานของมันไม่ขึ้นกับสายสัญญาณที่ใช้งานอยู่ การทำงานขั้นพื้นฐานได้แก่ กฎกติกาการเข้าถึง (Access) เครือข่าย เช่น CSMA/CD เป็นเรื่องของการ Interface ระหว่าง LAN Card หรือ NIC (Network Interface Card) หาใช่อยู่ที่สายสัญญาณไม่
สถาปัตยกรรมเครือข่าย Fast Ethernet เป็นเครือข่ายที่มีรูปแบบที่เรียกว่า Modular หรือประกอบด้วยชั้นของการทำงานอย่างเป็นระบบ
ภาพที่ 1
จากภาพที่ 1 แสดงให้เห็นระดับชั้น MAC ของ LAN Card หรือ NIC ที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ Repeater Hub ทางสายสัญญาณ (ระดับชั้น MAC นี้เป็นระดับชั้นย่อยในระดับชั้น Data Link Layer หรือระดับชั้น 2 ใน OSI Model ที่เรียกว่า PHY เป็นส่วนของการเชื่อมต่อที่ทำงานบน Layer 1 หรือ Physical Layer ใน OSI Model
ข้อแตกต่างที่สำคัญประการหนึ่งและเห็นได้ชัดคือ ระบบเครือข่าย Ethernet ทั่วไปสนับสนุนการเชื่อมต่อแบบบัส (BUS) และแบบ Star ขณะที่เครือข่าย Fast Ethernet สนับสนุนการเชื่อมต่อแบบ Star เท่านั้น และจะต้องเชื่อมต่อระหว่าง Repeater Hub กับสถานีการทำงานหรือคอมพิวเตอร์โดยตรงเท่านั้น นอกจากนี้ระบบเครือข่าย Fast Ethernet ไม่สนับสนุนการเชื่อมต่อด้วยสาย Coaxial ซึ่งเป็นแบบที่ใช้กับเครือข่าย Ethernet ธรรมดา อย่างไรก็ดีระบบเครือข่าย Fast Ethernet ที่ได้รับมาตรฐาน IEEE 802.3u สามารถรองรับการเชื่อมต่อด้วยสื่อสายสัญญาณดังต่อไปนี้มีคำถามว่าระบบเครือข่าย Fast Ethernet สามารถใช้สายตีเกลียวชนิด Shield ที่สามารถป้องกันสัญญาณรบกวนได้หรือไม่ คำตอบคือ มาตรฐานการเดินสายสัญญาณของระบบนี้ ไม่ได้ระบุความต้องการที่จะใช้สายระบบเครือข่าย Ethernet ยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานของชุดเชื่อมต่อ (Connector) สำหรับสาย STP เช่น DB-9 เป็นต้น ยิ่งไปกว่านี้ ท่านจะไม่มีโอกาสได้เห็น LAN Card ที่ใช้ Connector แบบ DB-9 แน่นอนระบบเครือข่าย Ethernet ธรรมดา และ Fast Ethernet มักจะถูกเรียกว่าเป็นเครือข่ายที่ทำงานแบบ Haft-Duplex ซึ่งหมายถึง คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับ Repeater Hub จะใช้กฎกติกาการเข้าสูเครือข่ายเพื่อใช้งานภายใต้กฎกติกา CSMA/CD ตามปกติ มิใช่ กฎกติกา Full Duplexระบบ Haft-Duplex หมายถึงการสื่อสารบนเครือข่ายของคอมพิวเตอร์จะต้องเป็นไปในรูปแบบผลัดกันรับหรือส่ง จะรับและส่งในคราวเดียวกันไม่ได้ เนื่องจากภาคการรับและการส่งข้อมูลจะใช้ช่องสัญญาณเดียวกัน แต่ถ้าหากเป็นแบบ Full-Duplex จะมีการแยกสายสัญญาณออกมา สำหรับการรับและส่งข้อมูลโดยเฉพาะ ดังเช่น 100 Base-TX (ดังภาพ 2) ซึ่งมีการแยกคู่สายสัญญาณออกเป็น 2 คู่ คู่หนึ่งสำหรับส่งข้อมูลและอีกคู่หนึ่งสำหรับรับข้อมูล
ภาพที่ 2
การเชื่อมต่อทางกายภาพของ 100Base-TX และ 100Base-FX ระหว่าง LAN Card กับ Repeater Hub (ดังภาพ 2) จัดว่าเป็น Full-Duplex อย่างแท้จริง โดยมีการแยกเส้นทางสำหรับการรับและส่งข้อมูลที่ปลายด้านของคู่สายอย่างชัดเจนภาพที่ 2 เป็นการแสดงให้เห็นว่า LAN Card ที่ตัวคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับ Repeater Hub แบบ Full-Duplex ได้อย่างไร หากสังเกตจะเห็นว่า ทางด้านของส่วนที่ใช้ส่งข้อมูลและส่วนที่ใช้รับข้อมูลตรงที่ PMD,PMA, PCS รวมทั้ง MAC ได้มีการแยกจากกันออกมา ถ้ามองจากคอมพิวเตอร์หรือ Node การรับและส่งข้อมูลถือว่าเป็นการทำงานที่แยกออกจากกันโดยสิ้นเชิงแหล่งที่มา http://www.paktho.ac.th/computerptk/introcom/FastEthernet.htm
Gigabit Ethernet
Gigabit Ethernetปัจจุบันเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้มีบทบาทต่อชีวิตประจำวันมากขึ้นทุกขณะ การเจริญเติบโตของเครือข่ายคอมพิวเตอร์เหล่านี้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และยังไม่มีสัญญานบ่งบอกว่าจะมีการ ชลอตัวแต่อย่างใด เครือข่ายแบบท้องถิ่นในองค์กรต่างๆ ตลอดจน บริษัท สถานศึกษาส่วนใหญ่กว่า80% จะนิยมใช้เครือข่าย Ethernet ส่วนที่เหลือก็จะเป็นพวก FDDI/CDDI, ATM และอื่นๆ ด้วยความต้องการการส่งผ่านข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามขนาดและจำนวน เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่บนเครือข่าย ตลอดจนการเติบโตของ Internet อย่างรวดเร็ว จึงทำให้เครือข่าย Ethernet แบบดั้งเดิมที่มีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลอยู่ที่ 10 Mbps เริ่มจะไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รูป แสดงส่วนประกอบต่างๆของ Gigabit Ethernet ซึ่งได้มีการรวม Fiber Channel เข้าไว้ด้วย
Gigabit Ethernet (IEEE802.3z)เป็นมาตรฐานใหม่ของเทคโนโลยีเครือข่ายท้องถิ่น (LAN-Local Area-Network) ที่พัฒนามาจาก เครือข่ายแบบ Ethernet แบบเก่าที่มีความเร็ว 10 Mbps ให้สามารถรับส่งข้อมูลได้ที่ระดับความเร็ว 1 Gbps ทั้งนี้เทคโนโลยีนี้ ยังคงใช้กลไก CSMS/CD ในการร่วมใช้สื่อเหมือนEthernet แบบเก่า หากแต่มีการพัฒนาและดัดแปลงให้สามารถรองรับความเร็วในระดับ 1 Gbps ได้Gigabit Ethernet เป็นส่วนเพิ่มขยายจาก 10 Mbps และ 100 Mbps Ethernet (มาตราฐาน IEEE 802.3 และ IEEE802.3u ตามลำดับ) โดยที่มันยังคงความเข้ากันได้กับมาตราฐานแบบเก่าอย่าง100% Gigabit Ethernet ยังสนับสนุนการทำงานใน mode full-duplex โดยจะเป็นการทำงานในการเชื่อมต่อระหว่าง Switch กับ Switch และระหว่าง Switch กับ End Station ส่วนการเชื่อมต่อผ่าน Repeater, Hub ซึ่งจะเป็นลักษณะของShared-media (ซึ่งใช้กลไก CSMA/CD) Gigabit Ethernet จะทำงานใน mode Half-duplex ซึ่งสามารถจะใช้สายสัญญาณได้ทั้งสายทองแดงและเส้นใยแก้วนำแสงหลักพึ้นฐานหลักการพื้นฐานที่สำคัญของ Gigabit Ethernet (IEEE802.3z) คือการปรับแก้ส่วนของ MAC Layer (Media Access Control Layer) โดยกลไกที่เรียกว่า Carrier Extension โดยกลไกตัวนี้จะทำการเพิ่มความยาวของเฟรมที่มีขนาดน้อยกว่า 512 ไบต์ โดยจะทำการเพิ่มข้อมูลเข้าไปยังส่วนท้ายของเฟรมเพื่อให้เฟรมข้อมูลนั้นมีขนาดเท่ากับ 512 ไบต์ เหตุที่ต้องทำเช่นนี้เนื่องมาจากว่าใน Ethernet แบบแรกที่ความเร็ว 10Mbps (IEEE802.3) นั้นได้มีการกำหนดออกแบบเอาไว้ว่าจะต้องสามารถ ตรวจจับ (detect) การชนการของข้อมูล (Collision) ได้เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เครือข่ายที่อยู่ห่างกัน 2 กิโลเมตร ส่งข้อมูลที่มีความยาว 64 ไบต์ออกมาในจังหวะเวลาที่ทำให้เกิดการชนกันของข้อมูล (Roundtrip Propagation Delay) ซึ่งเมื่อเกิดการชนกันขึ้น MAC Layer จะเป็นตัวที่ตรวจพบและมันจะทำการส่งสัญญาณเพื่อให้เครื่องที่ส่งข้อมูลชนกันหยุดการส่งข้อมูล และทำการสุ่มเวลาเริ่มต้นเพื่อนที่จะทำการส่งข้อมูลนั้นใหม่อีกครั้ง และใน 100 Mbps (IEEE802.3u)ก็ใช้ข้อกำหนดนี้ แต่ความเร็วที่เพิ่มขึ้นได้มาจากการเพิ่มสัญญาณนาฬิกาในการส่งข้อมูลให้เร็วขึ้นเป็น 10 เท่าจากของเดิม ทำให้เวลาที่ต้องใช้ในการส่งข้อมูลลดลง 10 เท่า ซึ่งทำให้ระยะห่างสูงสุดระหว่างเครื่องในเครือข่ายลดลง 10 เท่าเช่นกัน คือ จาก 2 กิโลเมตรเหลือเพียง 200 เมตรแต่เมื่อมีการเพิ่มความเร็วขึ้นอีก 10 เท่าใน Gigabit Ethernet จึงทำให้ระยะห่างดังกล่าวลดลงเหลือเพียง 20 เมตรบนสาย UTP cat5 ซึ่งไม่สามารถใช้งานได้ในสภาพการทำงานจริง ดังนั้น Carrier Extension นี่เองที่จะเข้ามาทำให้สามารถตัวจับการชนกันของข้อมูลเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอยู่ห่างกันที่ระยะ 200 เมตรขนาดของเฟรมที่เล็กที่สุดของ Gigabit Ethernet ซึ่งมีค่าเท่ากับ 512 ไบต์นั้นจะทำให้สามารถตรวจจับการชนกันของข้อมูลได้ที่ความเร็วในการส่งข้อมูลเท่ากับ 1 Gbps และระยะห่างสูงสุดที ่ 200 เมตร ทั้งนี้ทางคณะทำงานที่กำหนดมาตรฐาน IEEE802.3z ได้ลดจำนวน repeater hop ลงจาก 100Base-T(IEEE802.3u) ที่อนุญาตให้มีได้ 2 hop (และ 4 hop ใน 10Base-T) ลงเหลือเพียง 1 hop เท่านั้น ทั้งนี้เพื่อเหตุผลในเรื่องการลดเวลาในการตรวจสอบการชนกันของข้อมูล นอกจากนี้ค่าพารามิเตอร์อื่นๆทางวิศวกรรม(ค่าทางไฟฟ้า) ใน IEEE802.3z จะไม่มีการเผื่อ Safety Factor อีกต่อไปดังนั้นถ้าผู้ผลิตแต่ละยี่ห้อไม่ได้ใช่ค่าพารามิเตอร์ที่ตรงกันจริงๆ ก็จะทำให้เกิดปัญหาเมื่อนำเอา อุปกรณ์ Gigabit Ethernet ของต่างผู้ผลิตมาต่อเชื่อมกันได้
ประโยชน์ของกิกะบิตอีเธอร์เนต
เมื่อมีความต้องการแบนด์วิธมากขึ้น แน่นอนต้องปรับช่องส่งสัญญานให้กว้างขึ้น เสันใยแก้วนำแสง (Fiber Optics) จึงเข้ามามีส่วนมาก ในการส่งผ่านข้อมูล เพื่อรองรับการส่งผ่านสัญญาณสูง ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้ส่งผ่าน สายทองแดงหรือที่เรียกว่า 1000BASE-T1 ประสิทธิภาพในการใช้เครือข่ายเพิ่มมากขึ้น ทำให้การส่งผ่านข้อมูลข้ามจากเซกเมนต์หนึ่ง ไปยังเซกเมนต์หนึ่งด้วยความเร็วสูง เพื่อตอบสนองการใช้งาน2 โอกาสในการขยายตัวของระบบเครือข่าย ทำให้รองรับอนาคตได้อีกยาวไกล3 คุ้มค่าในการลงทุนในระยะยาว
จะเห็นได้ว่าเครื่องพีชี ที่ติดต่ออยู่กับระบบเนตเวอรค์ในปัจจุบัน ล้วนแต่ประสิทธิภาพสูงๆ ไม่ว่าจะเป็น เพนเทียมทู เพนเทียมโปร ซึ่งต้องการการผ่านข้อมูลสูงๆ ทั้งนั้น ฉนั้นโครงสร้างพื้นฐาน ระดับ 1000 Mbps จึงจำเป็นสำหรับเนตเวอร์ที่ต้องการการส่งผ่านข้อมูลสูงๆ แบบนี้
รูปแบบในการติดตั้งกิกะบิต อีเธอร์เนต อย่างง่ายๆ
รูปแบบที่หนึ่ง กิกะบิตอิเธอร์เนต จะถูกสวิสซ์แล้ววิ่งไปตามแบคโบนเครือข่าย ที่มีการเชื่อมต่อ ระหว่างสวิสต์กับสวิสต์ (Switch to Switch) การเชื่อมต่อใช้เส้นใยแก้วนำแสง ระหว่างตึกต่อตึก และใช้สายทองแดงเชื่อมต่อ ในระยะทางที่สั้นกว่า ดังรูป
รูปแบบที่สอง การเชื่อมต่อแบบ สวิสต์กับเครื่องเซิฟเวอร์ (Switch to Server) เป็นการเข้าถึงเชิฟเวอร์ด้วยความเร็วสูง แต่จุดสำคัญจะต้องเป็น เชิฟเวอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงมาก จากนั้นจึงสวิสต์ไปยัง อิเธอร์เนตอื่นด้วยความเร็วที่ 100 Mbps และส่งผ่านระดับ 10 Mbps เข้ายังพีชี เมื่อพีชีในปัจจุบันมีความเร็วมากขึ้นๆ ความต้องการเชิฟเวอร์ลดลง หันมาใช้แบบเวิร์คกรุ๊ปแทน ในรูปแบบที่สามการใช้ทรัพยากรในระดับ 100 Mbps
เครือข่ายความเร็วสูง เมื่อก่อนเห็นจะเป็น ATM แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ที่จะจัดการไม่ว่าการข้ามยี่ห้อของอุปกรณ์ การเซ็ตอะไรต่อมิอะไร ในระบบ และแอพพิเคชั่นที่ใช้อยู่ในระบบ มาบัดนี้ กิกะบิต อีเธอร์เนต ดูเหมือนจะมาแรงแซงนำ มากกว่ารูปแบบอื่นๆ เพราะอิเธอร์เนต แทบจะไม่ต้องทำอะไรเลย ไม่ว่าจะเป็น อิเธอร์เนต ฟาสต์อิเธอร์เนต หรือกิกะบิต อิเธอร์ตเนต ซึ่งปัจจุบันฮาร์ดแวร์ก็มีอยู่หลายๆ ค่าย ที่ออกมารองรับความเร็วระดับนี้ ทาง บริษัท ซี-พลัส จำกัด เองได้มีโอกาส ติดตั้งกิกะบิต อิเธอร์เนตแบคโบน ที่ราชภัฎเชียงราย ถือว่าเป็นอีกความภาคภูมิใจหนึ่งของเรา ซึ่งพูดได้ว่าเป็นไซต์แรก ของประเทศก็ว่าได้ที่ กิกะบิตแบคโบน ที่ให้การส่งผ่านข้อมูลสูงถึงความเร็ว 1000 Mbps บทความ กิกะบิต อิเธอร์เนต จาก gigabit-ethernet.org (PDF File)
วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552
Topology
โทโปโลยีคือลักษณะทางกายภาพ (ภายนอก) ของระบบเครือข่าย ซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง โทโปโลยีของเครือข่าย LAN แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งาน แตกต่างกันออกไป การนำไปใช้จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษาลักษณะและคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแต่ละแบบ เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบพิจารณาเครือข่าย ให้เหมาะสมกับการใช้งาน รูปแบบของโทโปโลยี ของเครือข่ายหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้
1.โทโปโลยีแบบบัส (BUS) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบไปด้วยข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของ บัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัส จะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ลบล้างสัญญาณที่ส่งมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น
สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัส ข้อมูลจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่า ตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าตรง ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนด ตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้
ข้อดี
- ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งถือว่าระบบบัสนี้เป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก
ข้อเสีย
- อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมี สัญญาณขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องบางเครื่อง หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย
- การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยาก เนื่องจากขณะใดขณะหนึ่ง จะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อความ ออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้
2.โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป
ข้อดี
- ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเองหรือไม่
- การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป
- คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน
ข้อเสีย
- ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่าย หยุดชะงักได้
- ขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านแต่ละเครื่อง เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุก ๆ Repeater จะต้องทำการตรวจสอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูลนั้น ๆ ทุก ข้อมูลที่ส่งผ่านมาถึง
3.โทโปโลยีแบบดาว (STAR) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป
ข้อดี
- การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีเครื่องใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์ กลางสามารถตัดเครื่องที่เสียหายนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้เลย โดยไม่มีผลกระทบกับระบบเครือข่าย
ข้อเสีย
- เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในเครื่องอื่น ๆ ทุกเครื่อง การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้ง จะต้องเกี่ยวเนื่องกับเครื่องอื่นๆ ทั้งระบบ
4.โทโปโลยีแบบ Hybrid เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบ STAR , BUS , RING เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นการลดข้อเสียของรูปแบบที่กล่าวมา และเพิ่มข้อดี ขึ้นมา มักจะนำมาใช้กับระบบ WAN (Wide Area Network) มาก ซึ่งการเชื่อมต่อกันของแต่ละรูปแบบนั้น ต้องใช้ตัวเชื่อมสัญญาญเข้ามาเป็นตัวเชื่อม ตัวนั้นก็คือ Router เป็นตัวเชื่อมการติดต่อกัน
5.โทโปโลยีแบบ MESH เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก
ที่มา
http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=7098f797c7c0afea
ข้อสอบ
1 โครงสร้างข้อมูลแบบใด ถ้ามีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากเกินไป จะมีการส่งข้อมูลชนกันมากจนเป็นปัญหา ก. Bus topology ข. Star topology
ค. Ring topology
ง. mesh topology
2 โครงสร้างเครือข่ายแบบใด ในการรับส่งข้อมูลจะไม่มีการชนกันชนกันของข้อมูลเกิดขึ้นเลย
ก. Bus topology
ข. Star topology
ค. Ring topology
ง. mesh topology
3 โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว Star topology จะมีจุดศูนย์กลางในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เรียกว่า
ก. โฮสต์ (Host)
ข. เซิฟเวอร์ (Server)
ค. ซอฟแวร์
ง. ถูกทั้ง ก. และ ข.
4 โครงสร้างเครือข่ายแบบใด เมื่อ ฮับ( hub)หยุดทำงาน ระบบจะล้มเหลวทั้งระบบทันที
ก. Bus topology
ข. Star topology
ค. Ring topology
ง. mesh topology
5 ข้อใดคือ ระบบเครื่องข่ายท้องถิ่น เป็นเน็ตเวิร์กในระยะทางไม่เกิน 10 กิโลเมตร
ก. LAN (Local Area Network)
ข. MAN (Metropolitan Area Network)
ค. WAN (Wide Area Network)
ง. ถูกทุกข้อ
1.เฉลย ก. Bus topology พราะ โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส จะประกอบด้วย สายส่งข้อมูลหลัก ที่ใช้ส่งข้อมูลภายในเครือข่าย เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง จะเชื่อมต่อเข้ากับสายข้อมูลผ่านจุดเชื่อมต่อ เมื่อมีการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องพร้อมกัน จะมีสัญญาณข้อมูลส่งไปบนสายเคเบิ้ล และมีการแบ่งเวลาการใช้สายเคเบิ้ลแต่ละเครื่อง ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบบัส คือ ใช้สื่อนำข้อมูลน้อย ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบโดยรวม แต่มีข้อเสียคือ การตรวจจุดที่มีปัญหา กระทำได้ค่อนข้างยาก และถ้ามีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากเกินไป จะมีการส่งข้อมูลชนกันมากจนเป็นปัญหา
2.เฉลย ค. Ring topology เพราะ โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน มีการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์โดยที่แต่ละการเชื่อมต่อจะมีลักษณะเป็นวงกลม การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายนี้ก็จะเป็นวงกลมด้วยเช่นกัน ทิศทางการส่งข้อมูลจะเป็นทิศทางเดียวกันเสมอ จากเครื่องหนึ่งจนถึงปลายทาง ในกรณีที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งขัดข้อง การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายชนิดนี้จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ข้อดีของโครงสร้าง เครือข่ายแบบวงแหวนคือ ใช้สายเคเบิ้ลน้อย และถ้าตัดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เสียออกจากระบบ ก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบเครือข่ายนี้ และจะไม่มีการชนกันของข้อมูลที่แต่ละเครื่องส่ง
3.เฉลย ง. ถูกทั้ง ก. และ ข. เพราะ ระบบเครือข่ายแบบดาว (Star Topology) ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง เรียกว่า โฮสต์ (Host) หรือ เซิฟเวอร์ (Server) ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นแลอุปกรณ์ที่เหลือ ระบบนี้เหมาะกับการประมวลผลที่ศูนย์กลางและส่วนหนึ่งทำการประมวลผลที่เครื่องผู้ใช้ (Client or Work Station) ระบบนี้มีจุดอ่อนอยู่ที่เครื่อง Host คือ การสื่อสารทั้งหมดจะต้องถูกส่งผ่านเครื่อง Host ระบบจะล้มเหลวทันทีถ้าเครื่อง Host หยุดทำงาน
4.เฉลย ค. Star topology เพราะ โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว ภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีจุกศูนย์กลางในการควบคุมการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ หรือ ฮับ (hub) การสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ จะสื่อสารผ่านฮับก่อนที่จะส่งข้อมูลไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบบดาวมีข้อดี คือ ถ้าต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในระบบ ส่วนข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิ้ลจะค่อนข้างสูง และเมื่อฮับไม่ทำงาน การสื่อสารของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบก็จะหยุดตามไปด้วย
5.เฉลย ก. LAN (Local Area Network) เพราะ LAN (Local Area Network)ระบบเครื่องข่ายท้องถิ่น เป็นเน็ตเวิร์กในระยะทางไม่เกิน 10 กิโลเมตร ไม่ต้องใช้โครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ คือจะเป็นระบบเครือข่ายที่อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรือต่างอาคาร ในระยะใกล้ๆ